หลักการปฏิบัติธรรม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 25 มกราคม 2024.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,186
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,595
    ค่าพลัง:
    +26,443
    IMG_7459.jpeg

    ๑ บวก ๑ ได้เท่าไร ? โดยทั่วไปคำตอบคือ ๒ นั่นเป็นคณิตศาสตร์แบบเด็ก ๆ สมมติว่าเราเอาดิน ๑ กอง รวมกับดิน ๑ กอง จะได้กี่กอง ? นี่ ๑ บวก ๑ เป็น ๑ นะ

    ขนมครก ๑ ฝา รวมกับขนมครกอีก ๑ ฝา รวมเป็นขนมครก ๑ คู่ ขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะหน้า คำตอบทุกอย่างไม่ใช่โจทย์คณิตศาสตร์ จะได้ตายตัว ฉะนั้น...ทิดดอยก็เลยเครียด

    การเรียนระดับปริญญาโท ปริญญาเอกจะเปิดวิธีคิดให้กับเรา แต่คราวนี้วิธีคิดทั้งหมด คิดแล้วไม่จบ วิธีคิดของพระพุทธเจ้าคิดแล้วจบ

    ถ้าหากว่าใช้วิธีคิด ไม่ว่าจะแบบของฝรั่ง แบบของไทย คิดแบบตรรกะ คิดแบบหนึ่งชั้น สองชั้น สามชั้น คิดแบบแยกแยะ คิดแบบเอาเหตุเอาผล คิดด้วยมุมมองของคนภายนอก

    ของพระพุทธเจ้าท่านให้มองตัวเอง ดูที่ใจของเรา แก้ที่ใจของเรา ใจของเรามีความชั่วอยู่หรือไม่ ? ถ้ามีก็ขับไล่ออกไป แล้วระมัดระวังไว้อย่าให้เข้ามา ใจของเรามีความดีอยู่หรือไม่ ? ถ้าไม่มี ก็ทำให้มีขึ้นมา ถ้ามีอยู่แล้ว ก็ทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ต่างกันอยู่แค่นี้เอง ก็คือ แนวคิดทางโลก คิดแล้วไม่จบ จะกว้างบานปลายไปเรื่อย ๆ แนวคิดทางธรรมคิดแล้วจบ เป็นการย้อนเข้าหาต้นน้ำ

    สรุปว่าปฏิบัติธรรมทั้งชีวิต เอาแค่นั้นก็พอ หาความชั่วให้เจอ ละความชั่วให้ได้ สร้างความดีให้เกิด ทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ดูแล้วงานปฏิบัติธรรมมีนิดเดียว แล้วทำไมทำกันยากเย็นนัก ? สำคัญตรงที่ว่าเราต้องทำจริง ดูที่ตัวเอง แก้ที่ตัวเอง อย่าไปดูที่คนอื่น

    เรื่องของคนอื่นเป็นเรื่องของโลก เราแก้ไขโลกไม่ไหวหรอก โลกหนักเกิน ต้องแก้ไขที่ตัวเรา อะไรเกิดขึ้นก็ตาม ดูว่าเรามีอะไรผิดพลาด ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เรื่องนี้ถึงได้เกิด เราทำอะไรถูกต้อง ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เรื่องนี้ถึงได้เกิด แล้วก็เลือกเอาในส่วนที่ถูกต้องมาทำ ละในส่วนที่ไม่ถูกต้องไป

    แรก ๆ ก็ต้องเกาะดีละชั่ว เกาะดีละชั่วไปเรื่อย ท้ายที่สุดก็ไม่เกาะทั้งดีทั้งชั่ว..จบ ต้องเกาะก่อนนะ อาตมาขอยืนยัน ใครว่าอาตมาสอนให้ยึดติด คนเราถ้าไม่เกาะแล้วจะเอาอะไรมาละ มาปล่อย ? ต้องเกาะก่อน ถึงจะปล่อยได้ ก็เลยให้เกาะดีไปเรื่อย เดี๋ยวพอดีเต็มที่ ก็เลิกเกาะดีไปเอง

    คำว่า "เลิกดี" ไม่ได้เลิกทำ ยังคงทำอยู่ เพื่อความไม่ประมาท เพื่อเป็นเนติคือแบบอย่างให้กับคนรุ่นหลัง ทำดีเพราะสิ่งนี้นักปราชญ์สรรเสริญว่าดีเราจึงทำ ละชั่วเพราะว่าสิ่งนี้นักปราชญ์ทั้งหลายมีความเห็นพ้องกันว่าเป็นความชั่วเราก็ละ แต่เราไม่ติดทั้งดีทั้งชั่วแล้ว ผ่ากลางตรงไปเลย มีช่องเล็ก ๆ อยู่นิดเดียว ไปผิดจังหวะ ก็ชนผนังหัวแตก ซ้ายก็ไม่ได้ ขวาก็ไม่ได้ มัชฌิมาปฏิปทา ตรงกลางเป๊ะเลย
    ...................................
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
    www.watthakhanun.com

    ขอขอบคุณภาพ จาก คุณ ภัทร์ษกรณ์ จิระประเสริฐสุข
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...