ประสบการณ์ ธรรมะ พระเครื่อง หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จ.อยุธยา

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Specialized, 14 ตุลาคม 2009.

  1. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,359
    ขอบคุณครับ คุณ urica และ คุณ thth ที่แจ้งให้ทราบครับ
     
  2. @ahingsaka@

    @ahingsaka@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    206
    ค่าพลัง:
    +916


    ช่วยถ่ายรูปลงป็นวิทยาทานได้ปะครับ อยากเห็นเหมือนกันครับของเสริมเนี่ย
     
  3. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    ครับ อยากเห็นเหมือนกัน ช่วยถ่ายรูปมาให้ดูหน่อยนะครับ และอยากจะทราบว่า บล็อคหน้าถูกขโมยไปเมื่อไรครับ เจอของเสริมครั้งแรกเมื่อไร ครั้งสุดท้ายเมื่อไร ของเสริมน่าจะมีมากกว่า ๑ เหรียญที่โดนนะครับ เพราะคงไม่มีใครทำเสริมแค่เหรียญเดียวแน่ ที่อยากทราบเพราะเหรียญของผมนั้น ได้มามากกว่า ๑๐ ปี ครับ (ผมอยู่อเมริกามา ๒๐ กว่าปี) คนที่ให้ผมมานั้นเขาให้ฟรีด้วยครับ เพราะเขามีของหลวงปู่หลายชิ้น ยังได้แหวนเงินเลี่ยมทองมาด้วย (อันนี้บูชาพี่เขามา) แต่แลกของกับเพื่อนไปแล้ว ที่ยังไม่ได้มาจากพี่เขา คือ ยังบุกไม่ได้ เพราะพี่เขายังหวงอยู่ ก็เหรียญเศรษฐี ปี ๒๕๓๑ นี่แหละครับ

    บล็อคหลังที่ไม่เสริม เพราะไม่ถูกขโมย ไม่มีจุดใดชี้ขาดเลยหรือครับ หรือ เซียนดูแต่บล็อคหน้าอย่างเดียว ไม่ตั้งอยู่ความประมาทหรือครับเนี่ยะ

    ปล. มีใครโดนของเสริม บล็อกหน้า ทำร้ายบ้างอีกครับ ช่วยให้ข้อมูลด้วยครับ
     
  4. jirasak

    jirasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    334
    ค่าพลัง:
    +1,716
    ตะกรุดจักรพรรดิ์

    อยากทราบว่าใช่ตะกรุดหลวงปู่หรือเปล่าครับ ถ้าใช่หลวงปู่สร้างปีใหนครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SDC15895.JPG
      SDC15895.JPG
      ขนาดไฟล์:
      251.1 KB
      เปิดดู:
      116
    • SDC15894.JPG
      SDC15894.JPG
      ขนาดไฟล์:
      217.2 KB
      เปิดดู:
      113
    • SDC15888.JPG
      SDC15888.JPG
      ขนาดไฟล์:
      151.4 KB
      เปิดดู:
      103
    • SDC15889.JPG
      SDC15889.JPG
      ขนาดไฟล์:
      166.4 KB
      เปิดดู:
      106
  5. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,359
    สนทนากับหลวงปู่เรื่องการปฎิบัติ

    [​IMG]

    โดย พี่สิทธิ์

    ต่อไปนี้เป็นการรวมเอาบทสนทนามากกว่าหนึ่งครั้งมาผูกต่อกันเพื่อให้ทราบความโดยตลอด

    ศิษย์: อยากเรียนกรรมฐานกับหลวงปู่ครับ

    หลวงปู่: แล้วเคยทำก่อนรึยัง ทำมายังไงล่ะ

    ศิษย์: ภาวนาสัมมาอรหังครับ

    หลวงปู่: เออ...ท่านสดท่านดี ตั้งใจปฏิบัติต่อไป
    (หลวงปู่เป็นผู้ใจกว้างมาก ไม่เคยเลยที่จะยัดเยียดแนวทางการปฏิบัติกับผู้อื่น
    โดยเจ้าตัวยังไม่มีศรัทธา ตรงกันข้ามกับสนับสนุนผู้ปฏิบัติของสำนักต่าง )

    ศิษย์: หลวงปู่ครับ เวลานั่งสมาธิ ทำไมต้องเอานิ้วโป้งมาจรดกันด้วยครับ

    หลวงปู่: การเอานิ้วโป้งมาจรดกัน จะช่วยทำให้ธาตุไฟเดินได้รอบ

    ศิษย์: หลวงปู่ครับ เวลานั่งสมาธิ ต้องให้สว่างด้วยหรือครับ เอาแต่ความสงบไม่ได้หรือครับ

    หลวงปู่: ก็แล้วแกว่าเดินในทางที่มืด กับเดินในทางที่สว่าง แกว่าอย่างไหนดีกว่ากันล่ะ

    ศิษย์: หลวงปู่ครับ สัปดาห์นั้น ผมลองปฏิบัติแบบ... ต่อมาผมลองเปลี่ยนเป็นแบบ..... แล้วผมก็ว่าจะลองแบบ.......

    หลวงปู่: การปฏิบัตินั้น ต้องปฏิบัติด้วยความเคารพ การไม่เอาจริงเอาจัง ทำนิด ๆ หน่อย ๆ ยังไม่ทันเห็นผลก็เปลี่ยนวิธีการปฏิบัติไปเรื่อย ๆ ถ้าเป็นต้นไม้ ก็ต้องเฉาตาย ไม่มีวันโต เพราะปลูกลงไปไม่ทันไร ก็ขุดขึ้นมา ย้ายที่ปลูกใหม่อีกเรื่อย ๆ

    ศิษย์: หลวงปู่ครับ คนเราเวลาหลับหรือตื่น จิตจะเข้า-ออกจากฐานศูนย์กลางกาย

    หลวงปู่: จริง

    ศิษย์: หลวงปู่ครับ จริงไหมครับว่าการจะปฏิบัติให้สำเร็จ ต้องวางจิตที่ฐานศูนย์กลางกายเท่านั้น

    หลวงปู่: คนทำเป็น เขาจะวางจิตที่ตรงไหนก็ได้ เอาไปไว้ที่ปลายนิ้วก็ยังได้ เขาสำเร็จที่จิต ไม่ได้สำเร็จที่ฐาน

    ข้างต้น คือ บทสนทนาเท่าที่ยังระลึกได้ มาบันทึกไว้เผื่ออาจจะตอบข้อค้างคาใจของผู้มาใหม่บางท่านครับ

    เท่าที่สังเกตปฏิปทาของหลวงปู่ แม้ท่านจะสอนให้รู้ให้เห็น แต่ท่านก็ตระหนักถึงคุณและโทษของมัน เพราะลูกศิษย์จำนวนไม่น้อยที่มีตัวรู้ตัวเห็น แต่บางครั้งแทนที่จะใช้เครื่องมืออย่างดีอันนี้ในทางเสริมสมาธิธรรมและปัญญาธรรม กลับไปหลงตัว หรือไปรู้เห็นนอกลู่นอกรอย ไม่เข้าเรื่อง ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย หรือกลัวบาปกลัวกรรม นักเห็นบางคน เวลาโทสะเกิด ก็เกิดแรง แถมไม่ให้ใครตักเตือนเพราะคิดว่าตนดี ตนวิเศษกว่าคนอื่น คนอื่นไม่รู้เห็นอย่างตัวเอง หลวงปู่ท่านจึงต้องเน้นว่าเขาวัดผลการปฏิบัติกันที่การละโลภ โกรธ หลง มิใช่เห็นเทวดา นรก สวรรค์อะไร

    ดังนั้น การรู้การเห็นจึงเป็นเครื่องมือ ซึ่งก็คล้าย ๆ กับมีด ที่คุณโทษอยู่ที่ผู้ใช้ เอาไปหั่นของทำประโยชน์ก็ได้ เอาไปฟันแทงทำร้ายตน ทำร้ายคนอื่นก็ได้เช่นกัน สุดท้ายความสำคัญจึงขึ้นอยู่กับปัญญาของผู้ใช้เครื่องมือนั้นเอง

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      217.7 KB
      เปิดดู:
      2,688
  6. โอ ท่าซุง

    โอ ท่าซุง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,291
    ค่าพลัง:
    +8,436
    อนุโมทนาครับ ไม่ทราบว่าเคยลงวิธีปฏิบัติที่หลวงปู่ท่านสอนบ้างไหมครับ
     
  7. วิมุติมรรค

    วิมุติมรรค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    305
    ค่าพลัง:
    +1,754
    [​IMG]

    กรรมฐานที่หลวงปู่ดู่สอน



    ตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้เริ่มต้น

    ๑. เริ่มต้นด้วยการกล่าวคำบูชาพระ สมาทานศีล
    (เปลี่ยนศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร เป็น อะพรัหมะจะริยาฯ เพื่อเตรียมจิตก่อนอธิษฐานบวชจิต)
    จากนั้น ก็กล่าวคำอาราธนากรรมฐาน ว่า
    “พุทธัง อาราธะนัง กะโรมิ, ธัมมัง อาราธะนัง กะโรมิ, สังฆัง อาราธะนัง กะโรมิ” เป็นต้น

    ๒. เบื้องต้น ยังไม่ต้องรีบร้อนบริกรรมภาวนา หรือ นึกนิมิตใดๆ
    หากแต่ให้ปรับท่านั่งให้เข้าเป็นที่สบาย โดยตั้งกายให้ตรง
    ผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อทุกส่วน สูดลมหายใจลึกๆ สักสองสามครั้ง
    พร้อมกับทำจิตใจของเราให้ปลอดโปร่ง โล่ง ว่าง
    สร้างฉันทะที่จะปฏิบัติกรรมฐาน ระลึกว่า...
    เรากำลังใช้เวลาที่มีคุณค่าแก่ชีวิตคือ การพัฒนาจิตใจ
    ซึ่งเป็นสมบัติล้ำค่ากว่าสมบัติอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย หรือ ทรัพย์สมบัติ

    ๓. กล่าวอาราธนาขอให้พระพุทธเจ้า หลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ หลวงปู่เกษม
    ได้โปรดมาเป็นผู้นำ และ อุปการะจิตในการปฏิบัติธรรมครั้งนี้
    จากนั้น ก็น้อมจิตกราบพระว่า
    พุทธังวันทามิ ธัมมังวันทามิ สังฆังวันทามิ

    ๔. สำรวจอารมณ์ที่ค้างคาอยู่ในใจเรา แล้วชำระมันออกไป
    ทั้งเรื่องน่าสนุกเพลิดเพลิน หรือ เรื่องชวนให้ขุ่นมัวต่าง ๆ
    ตลอดถึงความง่วงเหงาหาวนอน และ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจต่าง ๆ
    รวมทั้งปล่อยวางความลังเลสงสัยเสียก่อน

    ๕. เมื่อชำระนิวรณ์ อันเป็นอุปสรรคของการเจริญสมาธิออกไปในระดับหนึ่งแล้ว
    กระทั่งรู้สึก ปลอดโปร่ง โล่ง ว่าง ตามสมควร
    จึงค่อยบริกรรมภาวนาในใจว่า
    “พุทธัง สรณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ, สังฆัง สรณัง คัจฉามิ”

    ๖. มีหลักอยู่ว่า ต้องบริกรรมภาวนาด้วยใจที่สบายๆ (ยิ้มน้อยๆ ในดวงใจ)
    ไม่เคร่งเครียด หรือ จี้ จ้อง บังคับใจ จนเกินไป

    ๗. ทำความรู้สึกว่า ร่างกายของเราโปร่ง
    กระทั่งว่าลมที่พัดผ่านร่างกายเราคล้ายๆกับว่า จะทะลุผ่านร่างของเราออกไปได้

    ๘. ให้มีจิตยินดีในทุกๆ คำบริกรรมภาวนา
    ว่าทุกๆ คำบริกรรมภาวนา...จะกลั่นจิตของเราให้ใสสว่างขึ้นๆ

    ๙. เอาจิตที่เป็นสมาธิพอประมาณนี้มาพิจารณาร่างกายว่า มันเป็นก้อนทุกข์
    ยามจะแก่ จะเจ็บ จะตาย เราก็ไม่อาจบังคับบัญชา หรือ ห้ามปรามมันได้
    ถึงแม้ว่าเราจะดูแลมันดีอย่างไร มันก็จะทรยศเรา มันจะไม่เชื่อฟังเรา
    ให้พิจารณาให้ละเอียดลงไปซ้ำๆ จนกว่าจิตจะเห็น และ ยอมรับความจริง
    เมื่อจิตยอมรับ จิตก็จะคลายจากความยึดมั่นถือมั่นว่า กายนี้เป็นเรา หรือ เป็นของเรา

    (การปฏิบัติกรรมฐานครั้งต่อไป ก็อาจเปลี่ยนเป็นการพิจารณาอย่างอื่น
    ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น หรือ พิจารณาโดยรวมว่า ร่างกายเรา หรือคนอื่น
    ก็สักแต่ว่าเป็นโครงกระดูก แม้ภายนอกจะดูแตกต่าง มีทั้งที่ผิวพรรณงาม หรือ ทรามอย่างไร
    แต่เบื้องลึกภายในก็ไม่แตกต่างกันในความเป็นกระดูก ที่ไม่น่าดูน่าชม เสมอกันหมด
    ให้พิจารณาให้จิตยอมรับความจริง เพื่อให้คลายความหลงยึดในร่างกาย ฯลฯ)

    ๑๐. เมื่อรู้สึกว่าจิตเริ่มขาดกำลัง หรือ ความแจ่มชัด
    ก็ให้หันกลับมา "บริกรรมภาวนา" เพื่อสร้างสมาธิขึ้นอีก

    ๑๑. ในบางครั้งที่จิตขาดกำลัง หรือ ขาดศรัทธา
    ก็ให้นึกนิมิต (นอกเหนือจากคำบริกรรมภาวนา) เช่น นึกนิมิตหลวงปู่ดู่ อยู่เบื้องหน้าเรา
    นึก...ง่ายๆ สบายๆ ให้คำบริกรรมดังก้องกังวานมาจาก "องค์นิมิต" นั้น
    ทำไปเรื่อยๆ เวลาเผลอสติไปคิดนึกเรื่องอื่น ก็พยายามมีสติระลึกรู้เท่าทัน
    ดึงจิตกลับมาอยู่ในองค์ "บริกรรมภาวนา" ดังเดิม

    ๑๒. เมื่อจิตมีกำลัง หรือ รู้สึกถึงปีติ และความสว่าง
    ก็ให้พิจารณาทบทวนในเรื่องกาย หรือ เรื่องความตาย
    หรือ เรื่องความพลัดพราก ฯลฯ หรือเรื่องอื่นใด
    โดยมีหลักว่า ต้องอยู่ในกรอบของเรื่อง...
    ความไม่เที่ยง
    ความเป็นทุกข์
    และความที่ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน...ที่เที่ยงแท้แน่นอน (อนัตตา)

    ๑๓. ก่อนจะเลิก
    (หากจิตยังไม่รวม หรือไม่โปร่งเบา หรือไม่สว่าง ก็ควรเพียรรวมจิตอีกครั้ง โดยให้เลิกตอนที่จิตดีที่สุด) จากนั้นให้ "อาราธนาพระ" เข้าตัวว่า

    สัพเพพุทธา
    สัพเพธัมมา
    สัพเพสังฆา
    พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพะลัง
    อะระหัน ตานัญ จะเต เชนะรักขัง พันธามิสัพพะโส
    พุทธัง อธิษฐามิ
    ธัมมังอธิษฐามิ
    สังฆัง อธิษฐามิ

    นึกอาราธนาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาไว้ที่จิตเรา
    หรือ อาจจะนึกเป็น "นิมิตองค์พระ" มาตั้งไว้ในตัวเรา

    ๑๔. สุดท้าย ให้นึกแผ่เมตตา โดยนึกเป็น "แสงสว่าง" ออกจากใจเรา พร้อมๆ กับว่า
    พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ

    โดยน้อมนึกถึงบุญอันมากมายไม่มีประมาณของพระพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
    อีกทั้งบุญกุศลที่เราสั่งสมมาดีแล้ว รวมทั้งบุญจากการภาวนาในครั้งนี้
    ไปให้กับเทพผู้ปกปักรักษาเรา ให้กับเจ้ากรรมนายเวร ให้กับบิดามารดา ครูบาอาจารย์
    ผีเหย้าผีเรือน พระภูมิเจ้าที่ เทพพรหมทั้งหลาย แลสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ
    ท่านทั้งหลายที่ยังทุกข์ ขอจงพ้นทุกข์
    ท่านทั้งหลายที่มีความสุขอยู่แล้ว ขอจงมีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป

    หมายเหตุ
    การอาราธนาพระเข้าตัว (บทสัพเพฯ) ก็เพื่อว่า
    เมื่อเวลาเลิกนั่งสมาธิไปแล้ว จะได้ระมัดระวังรักษาองค์พระในตัว
    โดยการสำรวมระวังรักษา กาย วาจา ใจ ตลอดวัน
    ซึ่งการสำรวมระวัง หรือที่เรียกว่า อินทรียสังวร นี้
    จะช่วยให้การปฏิบัติกรรมฐานครั้งต่อๆ ไป จิตจะเข้าถึงความสงบได้โดยง่าย



    ***คัดลอกบางตอนจากบทความของ คุณสิทธิ์
    ที่มา http://www.luangpordu.com/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2010
  8. วิมุติมรรค

    วิมุติมรรค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    305
    ค่าพลัง:
    +1,754
    [​IMG]





    ในตอนเริ่มต้นภาวนานั้น ที่นิยมกันก็คือ การตั้งนิมิตองค์พระ
    (ซึ่งอาจเป็นรูปองค์พระที่อยู่ในกำมือ) ไว้กึ่งกลางหน้าผาก ให้แตะรู้เบา ๆ อย่ากำหนดแรงนัก
    และให้คำบริกรรมภาวนาไตรสรณคมน์ ดังก้องกังวานออกมาจากองค์พระ
    (เพื่อให้รวมความรู้สึกไว้ในจุดเดียว)

    การเห็นนิมิตนั้น บางครั้งยังไม่ชัดเจนในตอนต้น อาจเพราะจิตยังฟุ้งอยู่
    เพราะระหว่างวันไม่ได้สำรวมรักษาจิตเท่าที่ควร หรือ อาจเพราะกำหนดแรงไป
    ดังนั้น ควรสูดลมหายใจลึก ๆ ปรับการนั่งให้เป็นที่สบายเสียก่อน
    แล้วนึกนิมิตง่าย ๆ เหมือนนึกถึงใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่เรา

    รายละเอียดระหว่างปฏิบัติขอข้ามไปก่อน
    ทีนี้ในตอนจะเลิก ก่อนอาราธนาพระเข้าตัว และ แผ่เมตตา
    ก็ให้เคลื่อนนิมิตองค์พระเข้ามาไว้กลางตัว
    ขยายองค์ท่านให้ใหญ่ จนเกศของท่านจรดที่บริเวณลูกกระเดือกของเรา
    ส่วนฐานอยู่ที่กลางท้อง หันพระพักตร์ออก

    ตั้งนิมิตเสร็จ ก็กล่าวคำอาราธนาพระเข้าตัว พร้อมกับแผ่เมตตา
    โดยกำหนดให้แสงสว่าง (บุญ) ออกจากองค์พระกลางตัว ออกไปทุกทิศทุกทาง
    ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างด้วย (ถ้าตั้งจิตจนเกิดปีติในระหว่างแผ่เมตตา...ก็จะยิ่งดี)

    เมื่อออกจากการนั่งกรรมฐานแล้ว ก็ให้ระลึกว่า องค์พระยังอยู่
    เราก็บริกรรมภาวนาประคององค์พระไว้ให้ได้ตลอดวัน
    จะทำอะไร พูดกับใคร ก็แบ่งใจส่วนหนึ่งมาระลึกองค์พระนี้ไว้
    พอถึงเวลาปฏิบัติ จิตก็จะสงบได้ง่าย

    การภาวนา...จะหวังจับยอดเอาปัญญาเลย โดยมองข้ามความสงบของใจนั้นไม่ควร
    เพราะอุปมาเหมือนจะรับประทานอาหาร แต่ไม่มีที่ตั้งจานข้าว
    ที่กล่าวมานี้ไม่ใช่แบบสำเร็จรูปตายตัว บอกเล่าไว้ให้พอเป็นแนวทางเท่านั้นครับ



    ***จากบทความของ คุณสิทธิ์
    ที่มา http://www.luangpordu.com/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2010
  9. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,359
    สาธุๆ อนุโมทนากับ พี่วิมุติมรรค ด้วยนะครับ

    แวะมาเยี่ยมเยียนผมบ่อยๆนะครับ ^^
     
  10. วิมุติมรรค

    วิมุติมรรค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    305
    ค่าพลัง:
    +1,754

    ติดตามอ่านบทความดีๆ จากคุณบอยอยู่เสมอครับ :cool:
     
  11. วิมุติมรรค

    วิมุติมรรค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    305
    ค่าพลัง:
    +1,754
    [​IMG]

    บทอธิษฐานแผ่เมตตา (พุทธัง อนันตังฯ)


    บางท่านอาจเคยสงสัย ในเรื่องบทแผ่เมตตาที่หลวงปู่ดู่ท่านแนะนำ คือ
    "พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ"
    ว่าทำไม่ไม่เห็นมีเนื้อหาเกี่ยวกับให้สัตว์ทั้งหลายจงพ้นทุกข์ จงมีสุข จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน ฯลฯ

    ทั้งนี้ เพราะบทนี้มิใช่บทแผ่เมตตาโดยตรง
    หากจะเรียกให้ถูกตรง ควรเรียกว่า บทอธิษฐานแผ่เมตตา
    กล่าวคือ เป็นการกล่าวอ้างเอา คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ ในอนันตจักรวาล
    อันหาประมาณมิได้ มาเป็นทุนในการแผ่เมตตา


    โดยปกติผู้ปฏิบัติกรรมฐาน เมื่อจะเลิกปฏิบัติจะน้อมจิตแผ่เมตตา ให้เทพผู้ปกปักรักษา
    เจ้ากรรมนายเวร บิดามารดา ครูบาอาจารย์ ญาติมิตรและศัตรู ผีเหย้าผีเรือน พระภูมิเจ้าที่
    อีกทั้งเทพ พรหม และสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ
    ที่มีทุกข์...ขอจงพ้นทุกข์
    ที่มีสุขอยู่แล้ว...ขอจงมีสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป
    แล้วจึงว่า... "พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ"

    การเจริญเมตตาเป็นเรื่องสำคัญ
    นักปฏิบัติบางคนได้สมาธิ รวมทั้งรักษาสมาธิอยู่ได้นาน ก็เพราะอาศัย การเจริญเมตตา นี้ล่ะ



    ***จากบทความของ คุณสิทธิ์
    ที่มา http://www.luangpordu.com/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2010
  12. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,359
    สาธุ ก่อนนอน-ตื่นนอน ผมต้องสวดบทนี้ตลอดครับ ไม่รู้อุปทานไปเองไหมเวลาตั้งจิตวางพรหมวิหาร แล้วนึกภาพหลวงปู่ดู่จากนั้นจึงอธิษฐานแผ่เมตตาด้วยบทนี้ขนจะลุกทุกครั้ง บางทีตัวก็สั่นครับ บทนี้ผมเชื่อว่าใช้ได้เรื่องแผ่เมตตาแน่นอนจริงๆครับ :cool:
     
  13. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,359
    เครดิต พี่ก๊อบ Leo

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • sp6.jpg
      sp6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      160.8 KB
      เปิดดู:
      1,572
  14. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    ต้องขอโทษ จขกท นะค่ะพอดีไปอ่านพบค่ะ เห็นว่าเป็นความเห็น ข้อคิดที่ดีค่ะ

    นานๆครั้งถึงจะได้มีโอกาสไปกราบหลวงปู่ที่วัดสะแก และทุกครั้งที่ไป ก็ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ(อย่างน่าใจหาย) คำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นในใจก็คือ พวกเรามักพูดกันเสมอๆว่า “รักและเคารพหลวงปู่" แต่ทำไมกลับไม่เชื่อหลวงปู่ กลับทำในสิ่งตรงกันข้ามกับที่ท่านได้สอนพวกเราเสมอมา กระทู้ นี้มีวัตถุประสงค์ก็เพื่ออยากจะให้ศิษย์พี่ๆน้องๆรุ่นหลังได้ทราบถึงสิ่งที่ เป็นคำสั่งคำสอนของหลวงปู่ดู่ ที่พวกเรา (ทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ใหม่) ควรเห็นความสำคัญและตั้งใจที่จะไม่ประพฤติล่วงคำสั่งคำสอนของท่าน ที่ขอยกมา ณ ที่นี้ คือบางส่วนของคำสั่งหรือดำริของหลวงปู่ที่พวกเราควรตระหนัก ได้แก่ ๑. หลวงปู่สั่งห้ามเรี่ยไรเงิน (ทุกวันนี้ยังมีประกาศห้ามเรี่ยไรเงิน – ลายมือของหลวงลุงยวง ติดไว้ที่เสาตรงข้ามกุฏิของหลวงปู่) แต่ก็ยังมีคนไม่น้อยที่ชอบมาเรี่ยไรที่หน้ากุฏิหลวงปู่อีก เหมือนจะท้าทายที่หน้าหุ้นขี้ผึ้งรูปเหมือนหลวงปู่ ว่าบัดนี้หลวงปู่ละสังขารไปแล้ว ไม่มีใครมาห้ามฉันได้หรอก ๒. หลวงปู่สั่งไม่ให้จับกลุ่มคุยในขณะที่กำลังภาวนากัน ก็ยังพากันจับกลุ่มคุยส่งเสียงรบกวน จะนั่งสมาธิก็มีเสียงคุยรบกวน ออกไปเดินจงกรมยามค่ำมืดก็ยังมีเสียงจับกลุ่มคุยกันอีก หากหาความสงบในวัดไม่ได้แล้ว จะไปหาความสงบ ณ ที่ใด ที่ว่าภาวนาที่ใดก็ได้นั่น หมายถึงผู้ที่ทำได้ทำถึงมาก่อนหน้านี้แล้ว จากนั้นจะไปภาวนาที่ไหน ๆ ก็ได้ แต่ผู้กำลังฝึกหัดตน สภาพแวดล้อมย่อมมีผลอย่างมาก ไม่อย่างนั้นหลวงปู่จะกล่าวหรือว่าภาวนาที่วัดกับที่บ้านนั้นย่อมไม่เหมือน กัน นี้ยังไม่นับรวมที่คุยข้ามหัวคนนั่งภาวนาก็ยังมีให้เห็น หากหลวงปู่ยังมีชีวิต ท่านจะสลดสังเวชใจเพียงใด ๓. หลวงปู่บอกว่าท่านไม่เคยวางและจะไม่วางหลักปฏิบัติใหม่ ที่เกินเลยแบบที่พระพุทธเจ้าวางไว้เด็ดขาด ก็ยังพากันอุปโลกน์สร้างวิชาพิสดารอะไรขึ้นมาอีก ทำให้คนเข้าใจผิดคิดว่าหลวงปู่ต้องการจะเก่งเกินพระพุทธเจ้า รู้เทคนิควิธีที่ดีกว่าพระพุทธเจ้าสอนเสียอีก ๔. หลวงปู่สอนให้จริงจังและสม่ำเสมอต่อการปฏิบัติ ก็ยังพากันสอนให้ปฏิบัติแบบง่าย ๆ สบาย ๆ ทั้ง ๆ ที่หลวงปู่ครูบาอาจารย์ปฏิบัติแทบล้มแทบตายกว่าจะได้ธรรม ทำเหมือนว่าจะมีบารมีธรรมที่สั่งสมอบรมมามากกว่าหลวงปู่และครูบาอาจารย์ เหล่านั้น คำว่าสบาย ๆ นั้นหมายความถึงการวางใจมิให้เกิดความเคร่งเครียดหรือเต็มไปด้วยการคาดหวัง ผลว่าเมื่อไหร่จิตจะสงบหรือเกิดปัญญาสักที พูดอีกอย่างว่า “วางใจสบาย ๆ” หมายความว่าให้จิตมีฉันทะหรือยินดีต่อการปฏิบัติ เห็นคุณค่าของการปฏิบัติซึ่งเป็นส่วนของเหตุ (มิใช่ผล) เหมือนเราเป็นช่างสร้างบ้าน ก็ให้ทำการสร้างบ้านอย่างมีความสุขและเห็นคุณค่าของการปฏิบัติในทุกขั้นตอน มิใช่ทำไปหน่อยหนึ่งแล้วก็อู้งาน มัวแต่นั่งบ่นนั่งกังวลว่าเมื่อไหร่บ้านจะเสร็จสักที ๕. หลวงปู่สอนให้ทำตามแบบพระพุทธเจ้า (คือ ศีล สมาธิ ปัญญา) เราก็ยังพากันหาทางลัดกว่านี้ เช่น ละศีลออกบ้าง ละสมาธิออกบ้าง มุ่งจับยอดคือตัวปัญญา (หรือที่นิยมเรียกว่าวิปัสสนา) เสียเลยดีกว่า ผลก็เลยเป็นเหมือนข้าวโพดปิ้งที่ไม่มีไฟ ปิ้งเท่าไร ๆ ก็ไม่สุกไม่หอม เพราะไม่มีศีลและสมาธิ องค์ประกอบจึงไม่ครบสมบูรณ์ หากบอกว่าอยู่เฉย ๆ ก็เป็นศีล วางใจเฉย ๆ ก็เป็นสมาธิ หากสิ่งเหล่านี้จะมีมาได้โดยปราศจากความเพียรชอบ ปราศจากการฝึกการฝืน ปราศจากการอบรมดัดจิตใจให้ตรง เป็นของมีได้ตามธรรมชาติหรือมีมาได้โดยง่าย ๆ พระองค์ก็คงไม่ต้องเหนื่อยสอนและวางหลักวิธีปฏิบัติมากมายเพียงนี้

    จึง ว่าหากบอกว่ารักและเคารพหลวงปู่ ก็ขอได้โปรดเชื่อท่านและปฏิบัติตามที่ท่านอบรมสั่งสอน อย่าได้ปฏิบัติอย่างที่เรียกว่า "ท้าทาย" ท่าน ก็จะได้ชื่อว่ารักเคารพท่านจริง และเป็นการปฏิบัติธรรมโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ เพื่อความยืนยาวของคำสั่งคำสอนของหลวงปู่ และประโยชน์ที่จะเกิดกับตัวเราเองและผู้มาภายหลังทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ...จึงขอฝากมาให้พวกเราช่วยกันนำเอาบรรยากาศเก่าๆ เมื่อครั้งหลวงปู่ท่านยังดำรงค์ขันธ์อยู่กับพวกเรากลับคืนมาสู่วัดสะแก

    เมื่อ ครั้งพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานได้เพียงไม่กี่วัน ก็มีพระสาวกบวชใหม่ผู้เป็นพาลบางรูปกล่าวทำนองดีใจว่าต่อแต่นี้ไปก็จะไม่มี ใครมาคอยห้ามนั่นห้ามนี่อีกแล้ว พวกเขาจักทำอะไร ๆ ได้ตามชอบใจ จึงเป็นเหตุนำมาซึ่งการสังคายนาเพื่อให้เกิดพระธรรมวินัยที่เป็นหมวดหมู่ สะดวกต่อการจดจำและเผยแพร่ โดยให้มีความสมบูรณ์บริบูรณ์เพียงพอต่อการใช้อ้างอิง และที่สำคัญอย่างยิ่งคือใช้เป็นศาสดาแทนพระองค์ พระมหากัสสปะ ทั้ง ๆ ที่ท่านอยู่แต่ในป่า แต่ เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นซึ่งมีผลกระทบด้านลบต่อพระพุทธศาสนา ท่านก็ออกจากป่ามาเป็นผู้นำในการทำการสังคายนาพระไตรปิฎก และในระหว่างแห่งการสังคายนาก็มีประเด็นเรื่องอาบัติเล็กน้อย ที่พระพุทธองค์อนุโลมว่าพระภิกษุสงฆ์สามารถถอนสิกขาบทที่เห็นว่าเป็นประเด็น เล็กน้อยบางข้อออกได้ อย่าง ไรก็ดี พระภิกษุสงฆ์ (ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์) มีทัศนะไม่เป็นเอกฉันท์ว่าสิกขาบทอะไรบ้างที่จะอยู่ในข่ายที่พระพุทธองค์ ประสงค์ให้อนุโลมว่าเป็นประเด็นเล็กน้อยที่สามารถถอนออกได้ (คือไม่ต้องปฏิบัติตาม)

    ดังนั้น พระมหากัสสปะในฐานะประธานการสังคายนา จึง กล่าวในท่ามกลางสงฆ์ว่า เมื่อไม่มีข้อยุติว่าอะไรคือสิ่งที่เรียกว่าอาบัติเล็กน้อย เช่นนี้แล้ว เหล่าพระภิกษุสงฆ์ก็ไม่ควรประพฤติให้ชนทั้งหลายกล่าวได้ว่า สิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติขึ้นนั้นจักอยู่ได้เพียงแค่ชั่วระยะเวลาที่ พระพุทธองค์ยังทรงพระชนมาชีพอยู่เท่านั้น เปรียบเหมือนการยึดถือคำสั่งคำสอนแค่เพียงชั่วระยะกาลแห่งควันไฟเท่านั้น

    ขอ ให้พวกเรามาช่วยกันรักษาและยึดถือคำสั่งสอนของหลวงปู่ที่เรารักและเคารพ อย่าให้คำสั่งสอนของท่านเลือนหายหรือดำรงค์อยู่ได้แค่เพียงชั่วระยะกาลแห่ง ควันไฟเท่านั้น เลย...

    ที่มา คุณรณน : Luangpudu.com / Luangpordu.com
     
  15. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,359

    สาธุ เห็นด้วยเต็มที่ครับ ปัจจุบันมีวิชาแปลกประหลาดมากมายจากนิมิตของผู้สอนเอง หรือผู้ที่นั่งสมาธิแล้วเกิดอะไรแปลกๆ ก็ทึกทักมาว่าหลวงปู่มาสอน มาบอก ก็ขอให้วางกำลังใจกันเป็นกลางเข้าไว้ ปฎิบัติตามหลักของพระพุทธศาสนา หมั่นสร้างกุศลไปแบบนี้ก็พอแล้ว อย่าได้หาอะไรแปลกประหลาดมาปฎิบัติให้เกินครูเลยครับ
     
  16. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,359
    สังขารที่แม้หมดลมก็ยังคงนิ่ม

    [​IMG]

    โดย ี่สิทธิ์

    ถือเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาสำหรับคนทั่ว ๆ ไป ที่เมื่อหมดลมหายใจแล้วจะยังคงมีเนื้อหนังที่นิ่มหรือยืดหยุ่น

    การสังเกตดูสังขารของหลวงปู่หลังมรณภาพ ได้กระทำอย่างเป็นทางการประมาณ ๒ ครั้ง คือครั้งแรกเมื่อท่านมรณภาพไปได้ ๔๘ ชั่วโมง ซึ่งครั้งนั้น คุณหมอที่อยุธยาเป็นผู้มาตรวจดู และเอ่ยว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์ที่คนที่เสียชีวิตมานานถึง ๔๘ ชั่วโมง จะสามารถงอหรือพับข้อพับต่าง ๆ ได้ อีกทั้งไม่มีอาการที่เลือดตกหรือไปคั่งที่ด้านล่าง ถือเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาสำหรับคนทั่วไปจริง ๆ

    การสังเกตสังขารของหลวงปู่ครั้งที่ ๒ กระทำในคราวก่อนวันพระราชทานเพลิงศพไม่นาน ซึ่งนั่นหมายความว่าหลวงปู่ละสังขารมาแล้วเกือบ ๑ ปี แต่ปรากฏว่าเนื้อที่บริเวณน่องของท่านก็ยังมีความนิ่มและยืดหยุ่นอยู่ จึงยังความประหลาดใจ พร้อม ๆ กับความปลื้มปีติแก่ศิษย์ผู้อยู่ในเหตุการณ์เป็นอย่างมาก

    บันทึกเล่าเรื่องราวเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เพื่อผู้ที่ไม่ทันสังขารของหลวงปู่จะได้พอกพูนศรัทธาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,359
    เหรียญปั้มหลวงปู่ทวด
    ดอกบัวข้าง ปี 20

    จากหนังสือ พรหมปัญโญเถระ

    [​IMG]

    [​IMG]

    ***เหรียญนี้ถือเป็นเหรียญรูปเหมือน หลวงปู่ทวด รุ่นแรกของวัดสะแก ได้รับความนิยมมาก แต่ปัจจุบันให้ระวังในการเล่นหา เพราะบล็อคด้านหน้าโดยขโมยจากพระรูปหนึ่งในวัดสะแกเอง (ศิษย์รุ่นเก่าท่านบอกมา) ของเก๊นั้นเก๊เหมือนเป๊ะๆครับ เวลาเช่าหาอันดับแรกให้ดูที่ผิวเหรียญก่อนครับ เพราะทองแดงปั้มสมัยนั้นไม่ได้สะอาดตา เรียบเหมือนสมัยนี้ และถ้าเหรียญมีผดขึ้นมากๆต้องระวัง เพราะว่าปั๊มเหรียญมานานก็จะเกิดความชำรุดของบล็อคได้ ถ้ามีผดมากต้องคิดว่าอาจจะเป็นเหรียญเสริม และยังต้องจำรอยจารของหลวงปู่ดู่ให้แม่นด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      147.8 KB
      เปิดดู:
      1,509
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      146 KB
      เปิดดู:
      1,509
  18. เอกสุกิตติมา

    เอกสุกิตติมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    378
    ค่าพลัง:
    +1,814
    ได้เหรียญยันต์ดวงมาไม่ทราบว่าเป็นไงบ้างครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2010
  19. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,359
    ภาพไม่ชัดเลยครับโรบิ้น

    ลองพิจารณาเบื้องต้นด้วยตัวท่านเองดูครับ



    [​IMG]
    [​IMG]

    รายละเอียดเพิ่มเติมครับ

    เหรียญยันต์ดวงหลวงปู่ดู่ ปี2526 จัดเป็นเหรียญที่ลูกศิษย์ใฝ่หากันอยู่เหมือนกันเพราะเรื่องของพุทธคุณนั้น ไม่ต้องพูดถึงดีมากๆ ชื่อก็
    บอกแล้วว่า ยันต์ดวงคนที่ดวงไม่ค่อยจะดี ดวงตกหรือมีแต่เรื่องไม่ค่อยจะดี ถ้ามีเหรียญยันต์ดวงติดตัวอยู่และหมั่นสวดมนต์อยู่เป็นประ
    เหรียญยันต์ดวงหลวงปู่ดู่ ปี 2526 มีทั้งหมด 3 เนื้อด้วยกัน
    1.เนื้อทองคำ
    2.เนื้อเงิน
    3.เนื้อทองแดงรมดำ

    เนื้อทองคำ และ เนื้อเงิน ตัวกระผมไม่ทราบจำนวนการสร้างแต่พอจะทราบบ้างว่าหลังจากหลวงปู่ดู่ท่านปลุกเสกดีแล้วทางลูกศิษย์ก็
    ขอนำกลับเฉพาะเหรียญเนื้อทองคำและเนื้อเงินเท่านั้น ส่วนเนื้อทองแดงรมดำนั้นได้ถวายให้กับหลวงปู่ท่านเอาไว้
    เพิ่มเติม เนื้อทองแดงรมดำ การจัดสร้างน่าจะอยู่ประมาณ 20000 เหรียญ แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ด้วยกัน
    1.พิมพ์ธรรมดา เนื้อเหรียญด้านหน้าจะไม่มีรอยก้นหอยที่เกิดจากแรงปั้มรูปยันต์นะปิดล้อมที่อยู่ด้านหลังเหรียญ
    2.พิมพ์นิยม จะมีเนื้อเกินขึ้นมาทางด้านซ้ายข้างใบหูและด้านบนศรีษะของหลวงปู่ซึ่ง เนื้อที่เกินมานี้น่าจะเกิดจากแรงปั้มที่เป็นยันต์ด้าน
    หลังของเหรียญเอง
    3.พิมพ์นิยมแบบพิเศษ พิมพ์นี้จะเหมือนกับพิมพ์นิยมทุกอย่างพิเศษตรงที่ปรกติพิมพ์นิยมจะมีรอยก้น หอยที่เกิดจากแรงปั้มข้างเดียว
    แต่พิมพ์พิเศษนี้จะมีอยู่ 2 ข้างทั้งซ้าย และ ขวา (โปรดสังเกตุให้ดีๆ)
     
  20. เอกสุกิตติมา

    เอกสุกิตติมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    378
    ค่าพลัง:
    +1,814
    ลงใหม่ครับได้มาจากสายตรงที่พันทิพ ชื่อประทานพรพระเครื่อง ดูตำหนิแล้วก็ครบครับ แต่ไม่รู้ของปลอมเฉียบขาดขนาดไหนครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT0001.JPG
      PICT0001.JPG
      ขนาดไฟล์:
      994.5 KB
      เปิดดู:
      143
    • PICT0004.JPG
      PICT0004.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1,010.7 KB
      เปิดดู:
      152
    • PICT0006.JPG
      PICT0006.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1,021.1 KB
      เปิดดู:
      179

แชร์หน้านี้

Loading...