"จระเข้ นางมัจฉา"...บุญทอดกฐิน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย paang, 27 ตุลาคม 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]

    เมื่อวัดใดมีการทอดกฐิน นอกจากธงชาติและธงธรรมจักร ที่นำไปติดประดับไว้ตามกำแพงวัดแล้ว จะเห็นว่า มีธงอีก ๒ ผืนแขวนอยู่ด้วย คือ
    ๑.ธงจระเข้ โดยใช้ผ้าขาวเขียนหรือพิมพ์รูปจระเข้ ปากคาบดอกบัว แต่บางที่ก็เขียนเป็นรูปจระเข้เฉยๆ ไม่มี ดอกบัว และจระเข้นั้นก็กำลังว่ายน้ำฝ่าคลื่นลม
    ๒.ธงรูปนางมัจฉา คือ ครึ่งคน (ผู้หญิง) ครึ่งปลา
    สำหรับความเป็นของธงทั้ง ๒ ผืน นั้น พระอาจารย์เกษมสุข เขมสุโข วัดประดู่ธรรมธิปัตย์ บางซื่อ กทม. พระนักจัดรายการวิทยุ และผู้แต่งเทศน์เพลง อธิบายให้ฟังว่า ตามหนังสือศาสนพิธี ทางพระพุทธศาสนา กล่าวไว้ ๒ นัย คือ สมัยโบราณ การเดินทางต้องอาศัย การดูทิศทางจากดวงดาว เช่น ในการ เคลื่อนขบวนทัพ ในตอนจวนสว่าง ต้องอาศัยดาวจระเข้ ซึ่งขึ้นในช่วงนั้นพอดี
    การทอดกฐินสมัยโบราณ เป็นงานใหญ่ มีภาระต้องจัดทำมาก บางที่ต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ก็ต้อง อาศัยดูทิศทาง จากดาวจระเข้ ซึ่งพอขึ้นก็เริ่มเคลื่อนขบวนกฐิน จะได้ไปสว่างที่วัดพอดี
    ต่อมาจึงมีผู้คิดทำธงประดับองค์กฐิน ให้สวยงาม รวมทั้งประดับบริเวณวัด จึงได้มีการจัดทำธงรูปจระเข้ขึ้น หวังให้เป็นเครื่องหมายว่า วัดนี้มีผู้จองกฐิน หรือทอดกฐินแล้ว
    ส่วนอีกตำนานหนึ่งนั้น มีนิทานโบราณว่า เศรษฐีผู้หนึ่งเป็นคนขี้เหนียว ไม่เคยคิดทำบุญสร้างกุศล นำสมบัติ ไปฝังไว้ที่ท่าน้ำหน้าบ้าน ครั้นตายลงจึงไปเกิดเป็นจระเข้เฝ้าสมบัติของตน ได้รับความทุกขเวทนา จึงไปเข้าฝัน ภรรยาให้มาขุดสมบัติ ไปทำบุญกุศล ภรรยาจึงจัดให้มีการทอดกฐินขึ้น จระเข้เศรษฐีนั้นก็บังเกิดความยินดี ว่ายน้ำตามขบวนเรือแห่องค์กฐินไป แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดแรง ไปต่อไม่ไหว จึงบอกภรรยาให้วาดรูปจระเข้ ใส่ในธงไปแทน
    "คติความเชื่อเรื่องนี้ถือว่า ตรงกับเรื่องบาปบุญทางพุทธศาสนา เตือนสติให้คนรู้จักเสียสละ ทำบุญบ้าง เมื่อ ตายแล้ว หากยังหวงสมบัติอยู่ ก็จะเกิดเป็นสัตว์ มาเฝ้าสมบัติ ตรงกับหลักธรรมที่ว่า ตายด้วยความโลภ จะเกิดเป็นเปรต ตายด้วยความโกรธจะตกนรก ตายด้วยความหวง จะเกิดเป็นสัตว์เดรัชฉาน" พระอาจารย์ เกษมสุขกล่าว พร้อมกับบอกด้วยว่า

    [​IMG]

    ธงจระเข้ ยังแฝงด้วยปริศนาธรรม สำหรับเตือนสติพระหนุ่มเณรน้อย ให้พึงระวังภัยสี่ประการ อันจะเป็นเหตุ ห้ต้องสึกได้ คือ
    ๑. อูมิภัย ภัยอันเกิดจากคลื่น คือ อดทนต่อคำสอนไม่ได้
    ๒. กุมภีลภัย ภัย จระเข้ คือ เห็นแก่ปากแก่ท้อง
    ๓. อาวฎภัย ภัยเกิดจากน้ำวน คือ ห่วงพะวงอยู่ ในความสุขของชาวโลก เพลิดเพลินด้วยกามคุณ เช่นสะสม ของสวยๆ งามๆ ทำ สวนดอกไม้ สะสมของเก่าๆ ที่มีค่า และ
    ๔. สุสุกาภัย ภัยปลาร้าย คือ อภัยฉลาม หรือ เกิดความปรารถนาทางเพศ รักผู้หญิง
    ส่วน ธงรูปนางมัจฉา นั้น พระอาจารย์เกษมสุข บอกว่า ไม่ได้มีตำนานเขียนไว้ โดยจะเป็นรูปของครึ่งคน (ผู้หญิง) ครึ่งปลา คือ ส่วนบนของร่างกาย ตั้งแต่สะเอวขึ้นไปจะเป็นคน ต่ำจากสะเอวลงมาจะเป็นปลามีเกล็ด มีหางเหมือนปลาทุกประการ และมือนางมัจฉานี้จะถือดอกบัวในท่าพนม เป็นเสมือนการร่วมอนุโมทนากฐิน แม้ จะครึ่งคนครึ่งปลา แต่ก็อยู่ในน้ำที่เต็มไปด้วยระลอกคลื่นน้อยใหญ่


    [​IMG]

    อย่างไรก็ตาม เมื่อขบวนกฐินแห่ไปถึงวัดแล้ว เขาจะปักธงจระเข้ และ ธงนางมัจฉา ไว้ที่ท่าน้ำหรือที่หน้าวัด เพื่อบอกให้คนทั้งหลายรู้ว่า วัดนี้มีการทอดกฐินแล้ว และผู้คนก็จะอนุโมทนาในการกุศลนี้ด้วย
    สำหรับการสร้างเป็นเครื่องรางนั้น ค้าขายคล่อง วัดไหนมีกฐินแสดงว่า มีเงินเข้าวัด ถ้ามาปิดไว้ที่ร้านค้า ก็น่าจะมีเงินเข้าบ้านเข้าวัดบ้าง เป็นอุบายของการให้เช่าบูชา วัตถุมงคลอย่างหนึ่ง กำลังซื้อมีแต่กำลังที่ จะซื้อซ้ำไม่มี ทางวัดจึงพลิกแพลง ออกวัตถุมงคลชนิดใหม่ๆ เช่น ชูชก เจ้าเงาะ พญานาค เทพเจ้า ตาม ความเชื่อต่างๆ

    <TABLE borderColor=#ff9900 width="100%" bgColor=#eff1c5 border=1><TBODY><TR><TD>
    คำถวายกฐิน
    เมื่อพระสงฆ์พร้อมแล้ว ก่อนถวายกฐิน อาราธนาศีล รับศีล เมื่อรับแล้ว ทายกประกาศให้รู้พร้อมกัน หัวหน้า ผู้ทอดกฐิน หันหน้าไปทางพระพุทธรูป ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวถวาย เป็นภาษา บาลี ภาษาไทย หรือทั้งสองภาษาก็ได้ ว่าคนเดียวหรือว่านำ แล้วคนทั้งหลายว่าตามพร้อมกันก็ได้ การ กล่าวคำถวายจะกล่าวเป็นคำๆ หรือจะกล่าวรวมกันเป็นวรรคๆ แล้วแต่ความ สะดวกของผู้กล่าวนำ และผู้กล่าวตาม คำถวายมีดังนี้
    คำถวายภาษาบาลี แบบที่ ๑
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ หน) อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ ทุติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ ตะติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ แม้คำรบสอง ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่ง ผ้ากฐินกับบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ แม้คำรบสาม ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แด่พระสงฆ์
    คำถวายภาษาบาลี แบบที่ ๒
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ หน) อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ ทุติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ ตะติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ สาธุ โร ภันเต อิมัง สะปริวารา กะฐินะทุสสัง ปฏิคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ แม้คำรบสอง ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่ง ผ้ากฐินกับบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ แม้คำรบสาม ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แด่พระสงฆ์
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งผ้ากฐินทั้งบริวารนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อ ความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญฯ
    คำถวายภาษาบาลี แบบที่ ๓
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ หน) อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง ปะฏิคคันหาตุ ปะฏิคคเหตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
    คำแปล ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์ จงรับผ้ากฐินกับบริวารนี้ ครั้นรับแล้วจงกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อ ความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา http://www.komchadluek.net/
     

แชร์หน้านี้

Loading...