ธรรมะรอยธรรมหลวงปู่ดู่พรหมปัญโญ ตอน จบของทำบุญ-อธิษฐานรับพร

ในห้อง 'หลวงปู่ดู่ และ หลวงตาม้า' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 1 มีนาคม 2016.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ธรรมะรอยธรรมหลวงปู่ดู่พรหมปัญโญ ตอน จบของทำบุญ-อธิษฐานรับพร
    [​IMG]
    ก่อน ที่ท่านผู้มีศรัทธาทั้งหลายจะถวายของแก่พระภิกษุสงฆ์ มักจะมีการอธิษฐานหรือที่เรียกว่า
    จบของ บางคนจบนาน บางคนจบช้า หลวงปู่ท่านให้ข้อคิดว่า

    "ก่อน ที่เราจะถวายให้จบมาเสียก่อนจากบ้าน เนื่องจากพอมาถึงวัดมักจะจบไม่ได้เรื่อง
    คนมากมายเดินไปเดินมา จะหาสมาธิมาจากไหน เราจะทำอะไรก็ตามอธิษฐานไว้เลย

    เวลาถวายจะได้ไม่ช้าเสียเวลาคนอื่นเขาอีกด้วย บางคนก็ขอไม่รู้จบ ให้ตัวเองไม่พอ
    ให้ลูกให้หลาน จิตเลยส่ายหาบุญไม่ได้" การที่หลวงปู่ให้จบก่อนนั้น

    มีความประสงค์ให้ตั้งเจตนาให้ดี บุญที่ได้รับจะมีผลมาก ญาติโยมจึงกราบเรียนหลวงปู่ว่า

    "ควรอธิษฐานอย่างไร" หลวงปู่ตอบว่า

    "อธิษฐานให้พ้นทุกข์หรือขอให้พบแต่ความดีตลอดไปจนพ้นทุกข์ ถ้าเป็นบาลีก็ว่า

    สุทินนังวะตะเม ทานัง อาสวะขะยาวะหัง นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ
    คนเราจะพ้นทุกข์ได้ต้องพบกับความดีมีความสุขใช่ไหม ไม่ต้องอธิษฐานให้ยืดยาวหรอก"

    เมื่อทำบุญแล้วมักจะมีการรับพรจากพระ มีการกรวดน้ำ บางทีไม่ได้เตรียมไว้ต้องวิ่งหากันให้วุ่นวาย หลวงปู่บอกว่า

    "ใช้ น้ำจิตน้ำใจของเรากรวดก็ได้ เขาเรียกกรวดแห้ง ไม่ต้องกรวดเปียก
    เรื่องการกรวดเปียกเขาเริ่มมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อถวายของพระพุทธเจ้าแล้ว

    ท่านกรวด น้ำให้เปรตญาติพี่น้องที่มาร้องขอบุญจากท่าน ตอนแรกท่านไม่รู้เลยทูลถามพระพุทธเจ้า
    ที่เขาเรียกว่า ทุ สะ นะ โส คือหัวใจเปรตนั่นแหละ"

    หลวง ปู่ท่านตอบเพื่อให้คลายกังวลสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลากรวดน้ำเช่น
    คนที่รีบใส่บาตรก่อนจะไปทำงาน เป็นต้น ส่วนการอธิษฐานรับพรนั้นท่านแนะนำว่า

    "ข้าพเจ้า ขอรับพรที่ได้นี้ ขอให้ติดตัวข้าพเจ้าตลอดไปในชาตินี้และชาติหน้า
    แล้วก็อธิษฐานเรียกพระเข้าตัวเวลามีพิธีอะไร อย่างเช่น เวลาเขาปลุกเสกพระ

    เราก็สามารถรับพรจากพระองค์ไหนๆ ก็ได้ทั้งนั้น"การสำรวมกาย วาจา ใจ
    จึงเป็นสิ่งสำคัญเมื่อมีพิธีกรรมทางสงฆ์ เพราะบ่อยครั้งที่ขณะพระให้ศีลหรือให้พร

    ญาติ โยมบางคนก็เริ่มคุยแข่งกับพระ เสียงโยมเมื่อรวมกันดังกว่าเสียงพระเสียอีก
    ตนเองไม่ได้บุญยังไม่พอ แต่กลับไปสร้างความรำคาญให้ผู้อื่น เรียกว่าการขัดบุญที่ผู้อื่นพึงได้รับ

    หลวงปู่เคยพูดว่า "ระวังให้ดี เดี๋ยวจะเกิดเป็นตะเข้ขวางคลอง"
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญฉลองพระพุทธรูปรับวัตถุมงคล.561939/
     

แชร์หน้านี้

Loading...