ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo


    พวกเขาพบ langostas(ตั๊กแตนที่มีมากที่สุดในอิสราเอลคือตั๊กแตนทะเลทราย ซึ่งรู้กันว่าเป็นฝูงแมลงที่สร้างความเสียหายอย่างมากมาย-โยเอล 1:4, 7; นาฮูม 3:15)ในทะเลทรายโอมาน

    2019/10/02


    langostasเหล่านี้ไม่ปกติที่จะอยู่ในพื้นที่นี้ ......


     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    om%2F__origami%2Fservice%2Fimage%2Fv2%2Fimages%2Fraw%2Fhttp%253A%252F%252Fprod-upp-image-read.ft.jpg
    (Feb 8) สหภาพยุโรปเตรียมขึ้นบัญชีดำซาอุดิอาระเบีย-ปานามา ฐานมีความเสี่ยงฟอกเงิน : คณะกรรมมาธิการยุโรปกำลังพิจารณาขึ้นบัญชีดำซาอุดิอาระเบียและปานามา ในรายชื่อประเทศที่มีความเสี่ยงสูงในการฟอกเงิน แม้เยอรมนี ฝรั่งเศส และอังกฤษจะไม่เห็นด้วยก็ตาม

    หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์ส รายงานว่า ประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีดำในครั้งนี้ รวมถึงซาอุดีอาระเบีย และเขตแดนต่างๆอีกกว่า 20 เขตแดนที่ไม่ถูกระบุว่ามีการทำธุรกรรมทางการเงินที่ผิดกฏหมาย

    Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปัทมาสน์ ชนะรัชชรักษ์/รัตนา

    - EU plans to add Saudi Arabia, Panama to dirty money blacklist: FT
    https://www.reuters.com/article/us-...p45x9HwCZxMvsFX0gul1y5HNbnj3Jlke7tsOECx3x51s8
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    PxoA63WOfd2Ob75xoE0Aviypsa4QY4LzJOrK_4v12vGHPRj4AslnwQiGeZNZuRwZT6icN95w&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.png

    (Feb 8) คอลัมน์ บางขุนพรหมชวนคิด: ทำไมธนาคารกลางต้องรักษา 'เสถียรภาพระบบการเงิน'? เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2561 คณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรจากร้อยละ 1.50 เป็น 1.75 ต่อปี ซึ่งเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 7 ปี โดยมีเหตุผลหลักเพื่อลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน และเมื่อ 2 วันที่แล้ว (6 ก.พ. 2562) แม้ว่าคณะกรรมการฯ ส่วนใหญ่จะมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี เนื่องจากประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยระดับปัจจุบันมีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ แต่ยังมีกรรมการ 2 ท่านที่เห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ต่อปี โดยยังคงให้น้ำหนักต่อความกังวลด้านเสถียรภาพระบบการเงิน เหตุใดเรื่องเสถียรภาพระบบการเงินจึงมีความสำคัญนัก

    เสถียรภาพระบบการเงิน เหตุใดจึงสำคัญ?เสถียรภาพระบบการเงิน (Financial Stability) คือ ความมั่นคงของระบบการเงินเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ระบบการเงินมีขอบเขตที่กว้างมาก รวมถึงระบบการชำระเงิน ตลาดเงิน ตลาดทุน ตลอดจนธุรกิจประกันภัย อันเป็นช่องทางในการบริหารความเสี่ยง

    ดังนั้น ระบบการเงินที่มีเสถียรภาพจึงมีความสำคัญ เพราะหากขาดเสถียรภาพอาจสามารถลุกลามเป็นวิกฤตการเงิน (Financial Crisis) ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน ดังเช่น วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในสหรัฐ เมื่อปี 2551 ที่ระบบการเงินขาดเสถียรภาพจากการมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ กล่าวคือ สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูง (ซับไพรม์) มากเกินไปในช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำ จนเกิดการผิดนัดชำระหนี้มากกว่าคาด ส่งผลลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ และส่งผลกระทบเศรษฐกิจประเทศอื่นๆ เป็นวงกว้างด้วย

    เสถียรภาพระบบการเงินไทยตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง?ในปัจจุบันระบบการเงินไทยโดยรวมมีเสถียรภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ระบบสถาบันการเงินมีความมั่นคง และมีเกราะป้องกันแรงกระทบจากภายนอกคือ เสถียรภาพด้านต่างประเทศที่เข้มแข็ง สะท้อนจากภาระหนี้ต่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ เงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง และดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลต่อเนื่อง ทำให้สามารถรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจการเงินโลกได้ดี อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงบางจุด (Pocket of Risks) ที่ต้องจับตามองใกล้ชิด และอาจสร้างความเปราะบางต่อเสถียรภาพระบบการเงินในอนาคตได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานานในช่วงที่ผ่านมา อาทิ

    1) ฐานะทางการเงินของภาคครัวเรือนที่ยังคงเปราะบาง โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มสูงขึ้นเร็วกว่ารายได้ สะท้อนจากสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีที่เริ่มเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2561 หลังจากที่ลดลงต่อเนื่องจากจุดสูงสุดในไตรมาส 4 ปี 2558

    2) ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินแข่งขันกันปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยโดยยอมรับความเสี่ยงที่สูงขึ้น ส่งผลให้มาตรฐานการปล่อย สินเชื่อ (Credit Standard) ลดลง หากเกิดปัจจัยลบทางเศรษฐกิจ(Economic Shock) อาจทำให้ผู้ที่กู้เงินจนเกินตัวหรืออยู่ปริ่มน้ำไม่สามารถชำระหนี้ได้ และลุกลามไปสู่ฐานะทางการเงินของครัวเรือนข้างต้น นอกจากนี้ ยังเอื้อต่อการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ และสร้างอุปสงค์เทียมทำให้ราคาที่อยู่อาศัยสูงขึ้นกว่าความเป็นจริง และทำให้ผู้ต้องการที่อยู่อาศัยจริงต้องรับภาระในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ราคาสูงเกินจริง

    3) พฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (Search for Yield) อาจนำมาสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าความเป็นจริง (Underpricing of Risks) ภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เห็นได้ในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ครัวเรือนที่บางส่วนกู้ยืมเกินตัว สหกรณ์ออมทรัพย์ที่กู้เพื่อไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง หรือกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้และจากธนาคารพาณิชย์ เพื่อขยายการลงทุนไปยังธุรกิจอื่นๆ นอกจากธุรกิจหลักดั้งเดิม

    มาตรการต่างๆ ที่ ธปท.ดำเนินการไปก่อนหน้ายังไม่เพียงพอในการดูแลเสถียรภาพอีกหรือ?

    บางท่านอาจสงสัยว่ามาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนหรือมาตรการดูแลในเชิงป้องกัน (Macroprudential Policy) เช่น มาตรการ Loan-To-Value (LTV) ยังไม่เพียงพอที่จะช่วยลดความเปราะบางอีกหรือ จึงต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อเดือน ธ.ค. 2561 ความเปราะบางไม่ได้จำกัดอยู่ที่ภาคครัวเรือนหรืออสังหาริมทรัพย์เท่านั้น แต่สะสมอยู่ในหลายภาคส่วนที่เชื่อมโยงกัน และอาจทำให้เกิดความเสี่ยงเชิงระบบ (Systemic Risk) โดยหากเกิดความเสียหายในจุดหนึ่งอาจลุกลามต่อเนื่องเป็นโดมิโนแก่ทั้งระบบเศรษฐกิจได้ ดังนั้น เมื่อการพึ่งพานโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากในระดับที่ผ่านมามีความจำเป็นน้อยลง การใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งมีประสิทธิผลในวงกว้าง ย่อมเป็น "การกันไว้ดีกว่าแก้" เพราะยามปกติมักจะไม่มีใครเห็นความสำคัญของเสถียรภาพ แต่หากเกิดวิกฤตแล้วจะย้อนกลับมาถามว่า "เหตุใดจึงไม่ป้องกันเสียแต่แรก?"

    เสถียรภาพระบบการเงินไทยในระยะต่อไประบบการเงินไทยมีโอกาสได้รับผลกระทบสูง จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังในการจับสัญญาณความเสี่ยงต่างๆ ให้เร็วและทันการณ์ และเตรียมพร้อมรับมือ โดยใช้มาตรการดูแลในเชิงป้องกันควบคู่กับการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มีประสิทธิผลในวงกว้างในเวลาที่เหมาะสม เพราะหากไม่ได้มองภาพเศรษฐกิจและเสถียรภาพระบบการเงินเป็นองค์รวม เปรียบเสมือนมองไม่เห็นทั้งป่า และไม่รู้ว่าเริ่มมีควันไฟอยู่ในบางจุดที่อาจลามไปทั่วป่าได้แล้ว ความ เสียหายอาจเกิดตามมาได้เกินประมาณ

    โดย สุพริศร์ สุวรรณิก
    เศรษฐกรอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาคธนาคารแห่งประเทศไทย

    Source: Posttoday
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    rces%2Fimg%2Feditorial%2F2019%2F01%2F15%2F105678452-1547539895670gettyimages-621864612.1910x1000.jpg
    (Feb 8) อินเดีย'ประเดิมลดดอกเบี้ย - แบงก์ชาติอินเดียทำเซอร์ไพรส์ลดดอกเบี้ย ปรับทิศทางเป็นรายแรกหลังเฟดส่งสัญญาณเบรกขึ้นดอกเบี้ย

    ธนาคารกลางอินเดียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเหนือความคาดหมายในการประชุมเมื่อวานนี้ โดยลดลง 0.25% มาอยู่ที่ 6.25% ซึ่งเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบเกือบ 1 ปีครึ่ง และยังเป็นแบงก์ชาติรายแรกในเอเชียที่ประเดิมลดดอกเบี้ยในปีนี้ ภายหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณใหม่ในการประชุมเมื่อวันที่ 30 ม.ค. ว่า จะไม่รีบร้อนปรับดอกเบี้ยครั้งต่อไป

    ธนาคารกลางอินเดียมีมติอย่างไม่เป็นเอกฉันท์ 4 ต่อ 2 เสียง เห็นชอบให้ลดดอกเบี้ยโดยให้เหตุผลว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงอยู่ในระดับต่ำ หรือยังอยู่ในกรอบ เป้าหมาย 4% จึงช่วยให้มีความยืดหยุ่นพอต่อการดำเนินนโยบายได้ โดยอัตราเงินเฟ้อเดือน ธ.ค. อยู่ที่ 2.2% นอกจากนี้ แม้ว่าการลงทุนของอินเดียจะยังขยายตัวได้ดี แต่ส่วนใหญ่ยังมาจากการใช้จ่ายของภาครัฐ ดังนั้น จึงควรดำเนินนโยบายกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคของภาคเอกชนให้มากขึ้น

    ธนาคารกลางอินเดียยังมีมติเป็นเอกฉันท์ต่อการเปลี่ยนทิศทางแนวโน้มดอกเบี้ยจากเดิมในเดือน ต.ค. 2561 ที่มีแนวโน้มตึงตัวขึ้นมาเป็นแนวโน้มเป็นกลาง

    ก่อนหน้านี้ บลูมเบิร์กคาดการณ์ว่าการประชุมภายใต้การนำของนายชักติกันตะ ดาส ผู้ว่าการธนาคารกลางคนใหม่ จะเพียงแค่ส่งสัญญาณผ่อนท่าทีนโยบายการเงินแบบตึงตัว เพื่อเปิดทางให้สามารถลดดอกเบี้ยในการประชุมโอกาสต่อไป ซึ่งอินเดียกำลังจะมีการเลือกตั้งในเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ ขณะที่ผลสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์พบว่า มีเพียง 11 คน จาก 43 คนเท่านั้น ที่เชื่อว่าจะลดดอกเบี้ยในการประชุมดังกล่าว

    ทั้งนี้ เฟดได้ส่งสัญญาณว่าอาจพักการขึ้นดอกเบี้ยรอบใหม่ และเพิ่มความยืดหยุ่นมากขึ้นต่อการลดขนาดงบดุล เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อแทบไม่ขยายตัว และมีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้นจากเศรษฐกิจจีน ยุโรป และเบร็กซิต ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ธนาคารกลางหลายแห่งมีแรงกดดันต่อการขึ้นดอกเบี้ยรอบใหม่น้อยลง

    ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงธนาคารกลางฟิลิปปินส์ อังกฤษ และออสเตรเลีย ต่างมีมติคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมปีนี้ โดยออสเตรเลียยังผ่อนท่าทีจากนโยบายดอกเบี้ยตึงตัว ซึ่งอาจเปิดทางให้ลดดอกเบี้ยได้ในโอกาสต่อไป

    Source: posttoday

    - India's central bank could see reasons for a surprise rate cut, economists say
    https://www.cnbc.com/2019/02/07/res...NemTU-z9fpYWYrsvAeGFKfrDJdNEMKfOqM7LxWjXmDzkI
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    safe_image.php?d=AQCYLFRDe0it4OCF&w=540&h=282&url=https%3A%2F%2Fimages.wsj.jpg
    (Feb 8) ประธานเฟดย้ำทำงานเป็นอิสระ'โปร่งใส-สื่อสารเข้าใจง่าย' : ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการทำงานของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ว่าเป็นอิสระมากน้อยแค่ไหน ถูกใช้เป็น เครื่องมือทางการเมืองของสหรัฐหรือไม่ การที่ประธานเฟดถูกประธานาธิบดีตำหนิหลายครั้งในปีที่ผ่านมา มีผลอย่างไรต่อ การทำงานของเฟดหรือไม่ และอะไรคือ ปัจจัยเสี่ยงที่สุดต่อเศรษฐกิจในมุมมองของเฟด หาคำตอบได้จากรายงานชิ้นนี้

    เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวย้ำในโอกาสประชุมทางออนไลน์ ร่วมกับคณะนักวิชาการด้านการศึกษา ทั่วประเทศ เมื่อคืนวันพุธ (6ก.พ.)ว่า หัวใจในการทำงานของเฟดเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับ นโยบายดอกเบี้ยคือ ความเป็นอิสระจาก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม รวมทั้งกลุ่มการเมือง ซึ่งโครงสร้างของเฟดที่เป็น รูปแบบของการกระจายอำนาจเอื้อให้มีมุมมองที่หลากหลาย ก่อนตัดสินใจใดๆเพื่อบริหารการเงินของประเทศ และเฟดจำเป็นต้องรักษาความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นที่สาธารณชนมีต่อเฟด ด้วยการทำงานด้วยความโปร่งใสและให้สภาคองเกรสตรวจสอบได้

    พาวเวลล์ ซึ่งขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานเฟดเมื่อปีที่แล้ว ย้ำถึงความจำเป็นในการสร้างความเชื่อมั่นต่อสาธารณชนที่มีต่อ เฟด ซึ่งครอบคลุมถึงการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการทำกิจกรรมต่างๆของเฟดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการสื่อสารที่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ ถึงแม้ว่าการประชุมออนไลน์ครั้งนี้ ถ้อยแถลงของประธานเฟดจะไม่ได้เน้นย้ำในประเด็นเศรษฐกิจ หรือแนวโน้มเกี่ยวกับนโยบายแต่พาวเวลล์ก็เน้นย้ำถึงข้อจำกัดของการใช้นโยบายดอกเบี้ยกระตุ้นการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ

    "นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือ ทรงพลังที่จะช่วยสร้างเสถียรภาพแก่การเติบโตของเศรษฐกิจและช่วยจำกัดภาวะขาลงของเศรษฐกิจได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เครื่องมือทรงพลังนี้จะดูอ่อนด้อยไปในทันทีเมื่อมีพลังที่มีอำนาจมากกว่า เช่น ความสามารถด้านผลิตภาพของชาวอเมริกันและความแข็งแกร่งทางการเงินของชาวอเมริกัน" ประธานเฟด กล่าว

    การออกมาย้ำจุดยืนของประธานเฟดครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากเขาและประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐ ได้มีโอกาสหารือร่วมกันเกี่ยวกับภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐในการรับประทานอาหารค่ำที่ทำเนียบขาว ซึ่งในครั้งนี้ประธานเฟดไม่ได้แสดงความเห็น ใดๆ เกี่ยวกับทิศทางนโยบายการเงิน

    "การแสดงความเห็นของพาวเวลล์สอดคล้องเป็นอย่างเดียวกับที่แถลงข่าวกับสื่อไปเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยไม่ได้ให้ความเห็นใดๆ เกี่ยวกับการคาดการณ์ถึงทิศทางนโยบายการเงิน เพียงแต่เน้นย้ำว่า การดำเนินนโยบายการเงินใดๆขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจที่ปรากฏ และนั่นเป็นตัวกำหนดแนวโน้มนโยบายการเงิน" แถลงการณ์ของเฟด ระบุ

    ในการแถลงข่าวของผู้ว่าการเฟด ภายหลัง การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเฟดเมื่อสัปดาห์ก่อน พาวเวลล์ กล่าวว่า เฟดจะอดทนไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย และจะเพิ่มความยืดหยุ่นในการลดขนาดงบดุล พร้อมกับติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด

    ในช่วงรับประทานอาหารค่ำกับประธานาธิบดี พาวเวลล์กล่าวกับผู้นำสหรัฐว่า การดำเนินนโยบายการเงิน มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้เกิดเสถียรภาพด้านราคา และการจ้างงานในอัตราสูงสุด โดยอยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ เชิงภาวะวิสัยอย่างรอบคอบรัดกุม และ ไม่มีการเมืองเข้ามามีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจ

    พาวเวลล์ ในฐานะประธานเฟด ยังคง มุ่งมั่นรักษาความเป็นอิสระของเฟดไว้ต่อไป ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เกี่ยวกับบทบาทของเฟด ที่ไม่ทำหน้าที่เหมือนกับธนาคารกลาง ประเทศอื่นๆ ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลในเรื่องข้อพิพาททางการค้า กับจีนและสหภาพยุโรป (อียู)

    นอกจากนั้น ประธานาธิบดีทรัมป์ ยังไม่เห็นด้วยที่เฟดดำเนินนโยบายดอกเบี้ย ขาขึ้นในปีที่แล้ว จนส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่าและเป็นปัญหาต่อนโยบายการค้าของสหรัฐ แต่ประธานเฟด กล่าวย้ำถึง เป้าหมายของเฟดว่า คือการแก้ไขปัญหาการว่างงาน และปัญหาเศรษฐกิจ โดยจะไม่ดำเนินการใดๆ ที่เป็นการประนีประนอมกับความเป็นอิสระของเฟด

    นอกจากเน้นย้ำเรื่องการทำงานอย่างเป็นอิสระของเฟดแล้ว พาวเวลล์ ยังกล่าวว่า มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐมากที่สุดสองด้านในระยะ10ปีข้างหน้าคือ ความเหลื่อมล้ำของรายได้ และความสามารถด้านการผลิต ที่ชะลอตัวลง จึงเรียกร้องให้บรรดา ผู้กำหนดนโยบายออกมาตรการเชิงรุกเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในสหรัฐอย่างเป็นรูปธรรม

    "ตอนนี้ ประเทศเรามีปัญหาเรื่อง ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ อัตราค่าจ้างระดับกลางและระดับล่างเพิ่มขึ้นช้ากว่าระดับบน เราอยากให้เกิดความมั่งคั่งในสังคมทุกระดับชั้น ผู้กำหนดนโยบายจำเป็นต้อง เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วยการออกนโยบายมากำกับดูแลให้ค่าจ้างแรงงานไม่แตกต่างกันมากไป" พาวเวลล์ กล่าว

    ขณะที่ทั่วโลกกำลังจับตาการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ(เอฟโอเอ็มซี)ทุกนัด เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวเรื่องดอกเบี้ยนโยบาย ล่าสุด นางเจเน็ต เยลเลน อดีตประธานเฟด ได้ให้ความเห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย หากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐ พร้อมกล่าวว่า เศรษฐกิจจีนและยุโรป ที่ชะลอตัวลง เป็นอันตรายต่อแนวโน้มของเศรษฐกิจสหรัฐเช่นกัน

    นางเยลเลน กล่าวว่า หากการขยายตัว ของเศรษฐกิจโลกซบเซาลงและส่งผลกระทบ ต่อสหรัฐ ก็มีความเป็นไปได้ว่าความเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของเฟดจะเป็นการลดอัตราดอกเบี้ย แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ผลลัพธ์จะออกมาทั้งสองแนวทาง

    อดีตประธานเฟด ระบุด้วยว่า การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ ถือเป็นปัจจัยคุกคามครั้งใหญ่ที่สุด ที่เธอเคยเห็น ข้อมูลจากจีนเมื่อไม่นาน มานี้ชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจจีนกำลัง ชะลอตัวลง เช่นเดียวกับข้อมูลเศรษฐกิจ ของยุโรปที่ชะลอตัวลงมากกว่าที่ คาดการณ์ไว้

    ผลสำรวจที่มาร์กิตทำร่วมกับไฉซิน ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (พีเอ็มไอ) ภาคการผลิตของจีนอยู่ที่ระดับ 48.3 ในเดือนม.ค. ลดลงจากเดือนธ.ค.ซึ่งอยู่ที่ระดับ 49.7 โดยดัชนีพีเอ็มไอ ที่เคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของจีนอยู่ในภาวะหดตัว

    ส่วนไอเอชเอส มาร์กิต เปิดเผยว่า ดัชนีพีเอ็มไอ รวมภาคการผลิตและบริการขั้นสุดท้ายของยูโรโซน อยู่ที่ระดับ 51.0 ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2556 หรือในรอบ 66 เดือน ลดลงจากระดับ 51.1 ในเดือนธ.ค.

    Source: กรุงเทพธุรกิจ

    - Powell Lauds Fed’s ‘Precious’ Independence From Politics
    https://www.wsj.com/articles/powell...n0ajx6EadOnni5WH_uN4RwVN7e_9E639A8NlDHCP6FkMw
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    ZuwWW-l-WihC6YMqIXqv8t_2ikWs5czEbR_3ktFCRGtmIWVh6pCNjzMymXIy6PqjttI3-wrA&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.png

    (Feb 8) เลื่อนเบร็กซิต ทางออกเฉพาะหน้าสู้วิกฤต: ยิ่งใกล้ถึงเส้นตาย "เบร็กซิต" หรือการที่สหราชอาณาจักร นำโดยอังกฤษ จะต้องออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) มากเท่าไร ความโกลาหลภายในรัฐบาลอังกฤษก็ยิ่งเพิ่มขึ้นไม่หยุดหย่อน เพราะจนถึงบัดนี้ข้อตกลงเบร็กซิตก็ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างชัดเจนเสียที ขณะที่เหลือเวลาอีกเพียงไม่ถึง 50 วันเท่านั้น

    ท่ามกลางความไม่แน่นอนนี้ สถานการณ์หนึ่งที่มีความเป็นไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ ว่ากำลังจะเกิดขึ้นคือ "การเลื่อนเบร็กซิต" จากกำหนดการปัจจุบันในวันที่ 29 มี.ค.นี้

    สัญญาณการเลื่อนเบร็กซิตเริ่มปรากฏชัดขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุดนั้นเทเลกราฟรายงานว่า นายกรัฐมนตรีเทเรซา เมย์ ของอังกฤษ เตรียมเลื่อนการโหวตร่างเบร็กซิตอีกรอบจากวันที่ 14 ก.พ. ไปเป็นช่วงวันที่ 25-28 ก.พ. เนื่องจากเมย์ไม่น่าจะตกลงเรื่องร่างเบร็กซิตฉบับใหม่กับอียูได้ทัน

    ขณะที่ก่อนหน้านี้ เทเลกราฟ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีอังกฤษได้จัดการประชุมลับกันหลายครั้งเพื่อถกแนวทางขออียูเลื่อนเบร็กซิตออกไปอีก 8 สัปดาห์ ไปเป็นวันที่ 24 พ.ค. หากเมย์สามารถโน้มน้าวให้สภาล่างผ่านร่างเบร็กซิตได้

    สำหรับภายในอังกฤษเองนั้น ข้อเสนอการเลื่อนเบร็กซิตดูได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น มาร์ก เดรกฟอร์ด และ นิโคลา สเตอร์เจียน นายกรัฐมนตรีของเวลส์และสกอตแลนด์ แม้กระทั่ง เจเรมี คอร์บิน หัวหน้าพรรคแรงงานฝ่ายค้านของอังกฤษ ผู้เป็นไม้เบื่อไม้เมากับเมย์มาตลอด ที่เรียกร้องให้เมย์ขอให้อียูยอมขยายเวลามาตรา 50 ออกไป เพื่อให้อังกฤษยังไม่ต้องออกจากสหภาพอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 มี.ค.

    จากความเคลื่อนไหวดังกล่าวถือว่าค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า ทางอังกฤษต้องการเลื่อนเบร็กซิตอย่างแน่นอนในขณะนี้ ทั้งเพื่อต้องการเวลาเพิ่มในการร่างข้อตกลงเบร็กซิต และผลักดันให้อียูยอมเปิดทางการเจรจาใหม่อีกครั้ง

    ด้วยเหตุนี้ น้ำหนักการตัดสินใจจึงเทไปที่ "อียู" เป็นหลัก ว่าสุดท้ายแล้วอังกฤษจะได้ไฟเขียวเลื่อนเบร็กซิต หรือไม่

    แม้ตอนนี้ทางอียูยังไม่ออกมาแสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าจะยอมเอาด้วยกับข้อเสนอเลื่อนเบร็กซิตของอังกฤษหรือไม่ แต่ก็เริ่มเห็นสัญญาณว่า สุดท้ายแล้วอียูอาจต้องยอมเลื่อนเส้นตายออกไป โดยล่าสุดนั้น รอย เตอร์สรายงานว่า อังกฤษและอียูกำลังหารือกันว่า ควรมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดดีลเบร็กซิตที่เคยตกลงกันไว้เมื่อเดือน พ.ย.หรือไม่ ระหว่างที่เมย์กำลังไปคุยกับอียูเรื่อง "แบ็กสต็อป" (Backstop) หรือข้อตกลงว่าด้วยพรมแดนระหว่างไอร์แลนด์เหนือกับอียู

    ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์เดอะไทม์ส รายงานอ้างแหล่งข่าวว่า เจ้าหน้าที่หลายรายของอียูกำลังศึกษาแผน

    การเลื่อนเบร็กซิตออกไปอีก 1 ปี ไปเป็นปี 2020 แทน หลังเยอรมนีและฝรั่งเศสส่งสัญญาณว่าจะยอมขยายเวลาข้อตกลงหย่าขาดจากอียูให้อังกฤษ ท่ามกลางความปั่นป่วนวุ่นวายทางการเมืองอันไม่จบสิ้นของรัฐบาลผู้ดี

    อย่างไรก็ดี ยังคงมีความเป็นไปได้เช่นกันว่า อียูอาจไม่ยอมเลื่อนเบร็กซิต ออกไป เพราะตราบใดที่ภายในอังกฤษยังคงไม่มีความชัดเจน การขอเลื่อนเวลาออกจากสหภาพก็ไม่

    ต่างอะไรกับการซื้อเวลา และมีความเป็นไปได้สูงที่อังกฤษอาจย่ำอยู่ที่เดิมในจุดที่ไม่สามารถหาข้อตกลงเบร็กซิตได้เสียที

    ไม่เพียงเท่านั้น อียูมีตัวแปรสำคัญอีกอย่างที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ คือ "การเลือกตั้งรัฐสภายุโรป" ที่จะเกิดขึ้นวันที่ 23-26 พ.ค.นี้ ซึ่งมีรายงานก่อนหน้านี้ว่าทางอียูต้องการจัดการเรื่องของอังกฤษให้เสร็จสิ้นก่อนการเลือกตั้งรัฐสภา

    ในกรณีที่อังกฤษสามารถ โน้มน้าวให้อียูยอมขยายเวลากระบวนการหย่าขาดได้ การดำเนินการดังกล่าวก็เป็นเพียงการทะลวงทางตันแค่เปลาะแรกเท่านั้น

    งานยากที่รอรัฐบาลอังกฤษต่อหลังจากนั้นคือ "การร่างดีลเบร็กซิตที่ทุกฝ่ายเห็นชอบ" โดยเฉพาะจากพรรคฝ่ายค้าน

    ล่าสุดนั้น คอร์บิน หัวหน้าพรรคแรงงานออกมายื่น 5 เงื่อนไขให้ฝ่ายรัฐบาลทำตาม หากต้องการได้รับเสียงสนับสนุนร่างเบร็กซิตจากฝ่ายค้าน ที่รวมถึงการที่อังกฤษยังต้องได้เป็นสมาชิกเขตสหภาพศุลกากรของอียู ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวเข้าข่าย "ซอฟต์ เบร็กซิต" หรือการออกจากสหภาพแบบยอมโอนอ่อนให้อียู และขัดแย้งกับความต้องการของฝ่ายหนุนเบร็กซิตอย่างแรงกล้า หมายความว่า หากเมย์ยอมเห็นพ้องกับเงื่อนไขของพรรคแรงงาน ก็เสี่ยงเจอแรงต่อต้านจากฝ่ายหนุนเบร็กซิตอีก

    ด้านฝ่ายหนุนเบร็กซิต ที่นำโดย เจคอป-รีส์ ม็อกก์ แกนนำหนุนเบร็กซิต สมาชิกพรรคอนุรักษนิยมของเมย์ที่เคยขู่ว่ายื่นลงมติไม่ไว้วางใจเมย์ก่อนหน้านี้ เปิดเผยว่าจะผลักดันการใช้ "อาวุธลับ" เพื่อทะลวงทางตันเบร็กซิต ในกรณีที่อังกฤษและอียูไม่สามารถตกลงกันเรื่องแบ็กสต็อปได้

    อาวุธลับที่ว่าคือ "มาตรา 24" ในความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) ขององค์การการค้าโลก (WTO) โดยมาตราดังกล่าวจะเปิดทางให้อังกฤษและอียูสามารถใช้ข้อตกลงชั่วคราวที่จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายยังทำการค้ากันได้เหมือนช่วงออกจากสหภาพ โดยฝ่ายหนุนเบร็กซิตอ้างว่าข้อตกลงดังกล่าวสามารถยืดระยะเวลาออกไปได้ถึง 10 ปี ระหว่างอังกฤษกำลังเจรจาข้อตกลงการค้าถาวรกับอียู

    อย่างไรก็ดี มุมมองเรื่องมาตรา 24 ของฝ่ายหนุนเบร็กซิตดูจะฝันหวานไปเสียหน่อย เพราะข้อตกลงชั่วคราวที่ว่าไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ จากเหตุผล 3 ข้อด้วยกัน คือ 1.อียูต้องยินยอมด้วย 2.อียูและอังกฤษต้องร่างแผนยื่นต่อ WTO เพื่อทำข้อตกลงการค้าถาวร ที่ประกอบด้วยระยะเวลาการบรรลุ ข้อตกลงดังกล่าว และเงื่อนไขความสัมพันธ์ทางการค้า 3.หากต้องการทำข้อตกลงการค้าชั่วคราว ทั้งอียูและอังกฤษอาจต้องยอมปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการเป็นสมาชิก WTO ในกรณีที่ไม่สามารถทำข้อตกลงการค้าถาวรได้

    ท่ามกลางความวุ่นวายไร้ความชัดเจนเช่นนี้ การเลื่อนเบร็กซิตออกไปก่อนจึงเป็นตัวเลือกที่อาจจำเป็นต้องใช้เพื่อให้ผ่านสถานการณ์เฉพาะหน้าไปก่อน และยังเป็นเพียงทางออกขั้นแรกเท่านั้น

    โดย นรินรัตน์ พรหมพิทักษ์

    Source: Posttoday
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    25E5%258B%2595%25E8%25BB%258A%25E3%2582%25B7%25E3%2583%25A7%25E3%2583%25BC20190206105305695_Data.jpg

    (Feb 8) รถยนต์โลกอ่วมหนัก2019 : ผู้ผลิตรถยนต์แห่ปรับลดคาดการณ์กำไร ส่งสัญญาณอุตสาหกรรมรถปี 2019 ชะลอตัว คาดตลาดจีนฟื้นเล็กน้อย

    ไฟแนนเชียลไทมส์ รายงานว่า บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (จีเอ็ม) และบริษัท เดมเลอร์ 3 ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ ซึ่งมียอดขายรวมกันเป็นสัดส่วน 1 ใน 5 ของยอดขายทั้งหมดทั่วโลก ได้ส่งสัญญาณเตือนว่าตลาดรถยนต์ในปี 2019 อาจชะลอตัว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจจีนชะลอตัว และกระแสผู้บริโภคเปลี่ยนรสนิยม ซึ่งบีบให้ค่ายรถต้องลงทุนมหาศาลในการปรับแผนธุรกิจ

    ทั้งนี้ โตโยต้าได้ปรับลดคาดการณ์กำไรในปีงบ 2018 สิ้นสุดในเดือน มี.ค.มาอยู่ที่ 1.87 ล้านล้านเยน (ราว 5.32 แสนล้านบาท) ลดลง 19% จากคาดการณ์เดิม หลังกำไรสุทธิในไตรมาส 4 ของปีที่แล้วอยู่ที่ 1.8 แสนล้านเยน (ราว 5.14 หมื่นล้านบาท) ลดลงถึง 81% จากปีก่อนหน้า

    ทิพยา สุรยาเทวารา ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน (ซีเอฟโอ) ของจีเอ็ม คาดการณ์ว่า ยอดขายในจีนอาจปรับขึ้นเพียงเล็กน้อย และคาดการณ์ว่าต้นทุนการผลิต ซึ่งปรับสูงขึ้นจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน อาจฉุดผลประกอบการของบริษัทลง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 31.2 หมื่นล้านบาท) ในปี 2019 เท่ากับของปีที่แล้ว โดยจีเอ็มระบุว่ากำไรในไตรมาส 4 ของปีที่แล้วลดลง 8% มาอยู่ที่ 2,800 ล้านดอลลาร์ (ราว 8.75 หมื่นล้านบาท)

    ดีเทอร์ เซทเชอ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของเดมเลอร์ กล่าวว่า บริษัทกำลังเตรียมแผนลดต้นทุนในหลายด้านเพื่อรองรับการลงทุนเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและรถยนต์ไร้คนขับ ซึ่งต้องใช้ทุนสูง

    ด้าน ฮาคาน ซามูเอลสัน ซีอีโอของวอลโว่ คาร์ กล่าวว่า แม้ว่าปี 2019 อาจเป็นอีกปีที่ยอดขายของวอลโว่ขยายตัว เป็นผลจากการขยายกำลังการผลิต แต่ผลประกอบการจะยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันต่อไป โดยวอลโว่ระบุว่า กำไรจากการดำเนินงานในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นเพียง 0.9% มาอยู่ที่ 14.2 หมื่นล้านโครนา (ราว 4.81 หมื่นล้านบาท) แม้รายได้เพิ่มขึ้น 21% มาอยู่ที่ 2.25 แสนล้านโครนา (ราว 8.57 แสนล้านบาท)

    ทั้งนี้ นิกเกอิ เอเชียน รีวิว รายงานว่า ยอดขายรถของ 6 ชาติใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และสิงคโปร์ ของปี 2018 อยู่ที่ 3.57 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 6% จากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการขยายตัว 3 ปีติดต่อกัน และทำลายสถิติสูงสุดของเดิมที่ 3.5 ล้านคัน ในปี 2013 โดยเฉพาะตลาดไทยที่มียอดขายเพิ่มขึ้น 20% มาอยู่ที่ 1.04 ล้านคัน ขณะที่อินโดนีเซียตลาดรถใหญ่ที่สุดของภูมิภาคมีขอดขายเพิ่มขึ้น 7% มาอยู่ที่ 1.15 ล้านคัน

    อย่างไรก็ดี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คาดการณ์ว่า ยอดขายรถยนต์ในไทยปีนี้อาจลดลง 5% เช่นเดียวกับ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ที่คาดการณ์ว่ายอดขายในไทยปีนี้อาจลดลง 3.8% ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมของอินโดนีเซียและมาเลเซียก็คาดว่ายอดขายรถยนต์ปีนี้อาจไม่มีการขยายตัวเช่นกัน

    Source: Posttoday

    - Southeast Asian auto sales climb 6% to new heights in 2018
    https://asia.nikkei.com/Economy/Sou...EWpo0MkrbyuFOtIoO31Xus6g-XcWjQMtmd5Opw0NVAmpY
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    d9SmO&w=540&h=282&url=https%3A%2F%2Fcdn2.img.sputniknews.com%2Fimages%2F106964%2F69%2F1069646933.jpg

    (Feb 9)สหราชอาณาจักรและคณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบร่วมกันในการเจรจาหาทางออกให้กับประเด็นปัญหาBackstop เขตแดนบนเกาะไอร์แลนด์ :นาง Theresa May นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ระบุว่า ได้มีข้อตกลงร่วมกับนาย Jean-Claude Juncker ประธานกรรมาธิการยุโรป ให้คณะเจรจา Brexit จากทั้งสองฝ่ายหารือร่วมกันเพื่อหาทางออกให้กับประเด็น Backstop เขตแดนบนเกาะไอร์แลนด์ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของสภาผู้แทนราษฎรสหราชอาณาจักร ขณะที่เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปบางท่านเรียกร้องให้รัฐบาลสหราชอาณาจักรยอมรับข้อเสนอของพรรค Labour ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ที่เรียกร้องให้สหราชอาณาจักรยังคงอยู่ใน customs union ร่วมกับสหภาพยุโรปต่อไป เพื่อหาทางออกให้กับปัญหาเขตแดนบนเกาะไอร์แลนด์

    สหราชอาณาจักรและกลุ่มประเทศ EEA EFTA ซึ่งประกอบด้วย ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และนอร์เวย์ ได้บรรลุข้อตกลงด้านสิทธิพลเมืองร่วมกันเพื่อรองรับสำหรับกรณี no-deal Brexit โดยข้อตกลงดังกล่าวจะคุ้มครองสิทธิของพลเมืองจากกลุ่มประเทศ EEA EFTA ที่อยู่ในสหราชอาณาจักร และพลเมืองของสหราชอาณาจักรที่อาศัยอยู่ในกลุ่มประเทศ EEA EFTA แม้ว่าสหราชอาณาจักรจะไม่สามารถเจรจาหาข้อตกลง Brexit กับสหภาพยุโรปได้ก็ตาม

    ข้อตกลงด้านสิทธิพลเมืองเพื่อรองรับสำหรับกรณี no-deal Brexit เกิดขึ้นหลังจากที่ในปี 2018 นอร์เวย์และสหราชอาณาจักรได้ตกลงร่วมกันว่าจะนำหลักการของข้อตกลง Brexit มาปรับใช้เป็นข้อตกลงทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศ แต่จากความกังวลต่อสถานการณ์ no-deal Brexit ส่งผลให้จำเป็นต้องมีการเตรียมการสำหรับกรณีดังกล่าวเพิ่มเติม

    Source: BOTSS

    - Norway, Iceland, UK Agree on Citizens' Rights in Case of No-Deal Brexit:
    https://sputniknews.com/europe/2019...R8rxGkdsNrRnsMTD5YyrcKfJHGzKGljKvqQ-SPjBdEd1A
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    VL8szQpFwp3Nr&w=540&h=282&url=https%3A%2F%2Fichef.bbci.co.uk%2Fimages%2Fic%2F1024x576%2Fp070c6pd.jpg
    (Feb 9) ผู้แทนเจรจาจากประเทศกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรปบรรลุข้อตกลงร่วมกันที่จะให้มีการตรวจสอบและควบคุมที่เข้มงวดมากขึ้นต่อโครงการท่อส่งก๊าซจากรัสเซียไปยังเยอรมนี หรือ “Nord Stream 2” : ผู้แทนเจรจาจากประเทศกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรปบรรลุข้อตกลงร่วมกันที่จะให้มีการตรวจสอบและควบคุมที่เข้มงวดมากขึ้นต่อโครงการท่อส่งก๊าซจากรัสเซียไปยังเยอรมนี หรือ “Nord Stream 2” แต่ปฏิเสธที่จะสนับสนุนการดำเนินการใดๆ ที่จะส่งผลให้การก่อสร้างต้องหยุดชะงักลง โดยเยอรมนีเป็นประเทศสมาชิกที่ให้การสนับสนุนโครงการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกลุ่มธุรกิจเยอรมนีได้ดำเนินการลงทุนในโครงการดังกล่าวไปแล้วอย่างมาก อีกทั้งอดีตนายกรัฐมนตรีเยอรมนี นาย Gerhard Schröder ยังเป็นผู้ดูแลโครงการท่อก๊าซ “Nord Stream 2” ในปัจจุบัน

    โครงการท่อส่งก๊าซใต้ทะเลบอลติกระยะทาง 1,225 ก.ม. จากรัสเซียไปยังเยอรมนี หรือ “Nord Stream 2” เป็นประเด็นโต้แย้งภายในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากมีความกังวลว่าโครงการดังกล่าวจะทำให้ยุโรปต้องพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียมากเกินไปและรัสเซียอาจใช้ประเด็นดังกล่าวสร้างจุดอ่อนให้กับระบบความปลอดภัยด้านพลังงานของกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป โดยในปัจจุบันยุโรปพึ่งพาก๊าซจากรัสเซียเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 ของปริมาณการใช้ก๊าซทั้งหมดของยุโรป

    Source: BOTSS

    - Nord Stream 2: EU agrees tighter rules for Russian pipeline: https://www.bbc.com/news/world-europe-47170420
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    82&url=https%3A%2F%2Fsi.wsj.net%2Fpublic%2Fresources%2Fimages%2FFN-AG205_fn_par_M_20190208072309.jpg
    (Feb 9) Bank of America ยืนยันแผนการปรับโครงสร้างการดำเนินงานเพื่อรองรับ Brexit :ธนาคาร Bank of America Corp. ประกาศแต่งตั้งนาย Sanaz Zaimi – Global FICC Sales Head เป็น Chief Executive Officer ด้าน broker-dealer สำหรับกลุ่มลูกค้ายุโรปคนแรกของธนาคารประจำกรุงปารีสของฝรั่งเศส และยืนยันแผนการปรับโครงสร้างการดำเนินงานเพื่อรองรับ Brexit โดยมีแผนจะย้ายพนักงานจำนวน 400 ตำแหน่ง ไปยังกรุงปารีสเพื่อเตรียมรองรับการขยายธุรกิจในยุโรป โดยเกือบทั้งหมดจะเป็นการเคลื่อนย้ายไปจากกรุงลอนดอน

    Bank of America มีแผนจะเริ่มดำเนินการย้ายพนักงานจำนวน 200 คนไปยังกรุงปารีสก่อนกำหนดเส้นตาย Brexit และจะทำการเคลื่อนย้ายพนักงานอีกจำนวน 200 คน ในเดือนถัดไป โดย นาย Tom Montaf – Chief Operating Officer ของ Bank of America Corp. ระบุว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นเสมือน “critical milestone” เพื่อเตรียมการรองรับ Brexit

    Source: BOTSS

    - Bank of America picks Paris leaders as Brexit moves begin:
    https://www.fnlondon.com/articles/b...DfFwRIZr4p7zbgCM76ywToIYzRyM5qxPs8J-dWO8kJFbI
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    Robomart_SS.jpg
    (Feb 8) รถกับข้าว 4.0 | หรือว่าอนาคตของร้านสะดวกซื้อ คือรถยนต์ไร้คนขับที่ขนของมาขายถึงหน้าบ้าน : ภาพด้านบนที่เห็นคือ Robomart ร้านขายของสดเคลื่อนที่ เจ้าของคือสตาร์ทอัพที่พัฒนาเทคโนโลยีไร้คนขับอยู่ที่ซานฟราสซิสโก

    เมื่อไม่นานมานี้ Stop & Shop เชนร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตในสหรัฐอเมริกาได้ประกาศใช้งาน Robomart รถกับข้าวไร้คนขับเพื่อขนของไปขายถึงหน้าบ้านของลูกค้าในบอสตัน เมืองหลวงของรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

    อันที่จริงถ้าเรียกเป็นภาษาบ้านเรา คงจะเรียกเจ้าสิ่งนี้ได้ว่าเป็น “รถกับข้าวไร้คนขับ” หรือ “รถกับข้าว 4.0” ก็ดูจะเข้ากับยุคสมัยได้ดี

    ลูกค้าของ Stop & Shop สามารถเรียกรถกับข้าวไร้คนขับได้ด้วยแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน โดยในรถกับข้าวไร้คนขับจะมีระบบตู้แช่แข็งที่ควบคุมอุณหภูมิสินค้า ทำให้สินค้ายังสดอยู่ตลอดเวลา หลังจากนั้นเมื่อเลือกซื้อสินค้าแล้ว ลูกค้าสามารถจ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์ได้ ไม่ได้ต้องใช้เงินสดแต่อย่างใด หรือว่าอนาคตของร้านสะดวกซื้อคือรถยนต์ไร้คนขับที่ขนของมาขายถึงหน้าบ้าน?

    อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราได้เห็นรถกับข้าวล้ำยุคแบบนี้ เพราะ Toyota ก็เคยเจรจากับ 7-Eleven ในญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาร้านสะดวกซื้อเคลื่อนที่ด้วยเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ รวมถึง Starbucks ในญี่ปุ่นเช่นกันที่ Toyota ได้เข้าเจรจาเพื่อมองหาความเป็นไปได้ที่จะส่งร้านกาแฟเคลื่อนที่ลงมาเล่นในตลาดบ้าง

    โดย Thongchai Cholsiripong

    Source: Brandinside.asia

    https://brandinside.asia/robomart-d...OX1uh8UQaDn1ImZc7LVFLuGT-rgnpYKHMZFe1YKmpoyMA
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    safe_image.php?d=AQDmkmN6V6bNWcuX&w=540&h=282&url=https%3A%2F%2Fs4.reutersmedia.jpg
    (Feb 9) บริษัท fintech จำนวนมากขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ“electronic money institution licences” ที่ลิทัวเนียเพื่อเป็นการรับรองว่าบริษัทจะยังคงสามารถให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าในยุโรปได้ต่อไปภายหลัง Brexit: ธนาคารกลางลิทัวเนีย รายงานว่า กลุ่มบริษัทที่ให้บริการด้านการเงินและบริษัท start-up กว่า 100 แห่งจากสหราชอาณาจักรและประเทศอื่นๆ ได้ดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจการเงินที่ลิทัวเนียซึ่งเป็นหนึ่งใน fintech hub ของยุโรป เพื่อเป็นการรับรองว่าบริษัทจะยังคงสามารถให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าในยุโรปได้ต่อไปภายหลังสหราชอาณาจักรถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (Brexit)

    นาย Marius Jurgilas คณะกรรมการธนาคารกลางลิทัวเนีย กล่าวว่า กว่า 1 ใน 4 ของบริษัทจากสหราชอาณาจักรที่ดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจการเงินมายังลิทัวเนียเป็นการขอใบอนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจประเภท “electronic money institution licences” ซึ่งตนมองว่า กลุ่มบริษัทดังกล่าวมีการเตรียมการเพื่อรับมือกับสถานการณ์ Brexit ค่อนข้างช้า

    นาย Jurgilas ระบุว่า กระบวนการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจประเภท “electronic money institution licence” ของลิทัวเนียจะใช้ระยะเวลาเพียงประมาณ 3 เดือนเท่านั้น ซึ่งถือว่าค่อนข้างเร็วหากเทียบกับ fintech hub ของยุโรปบางประเทศ อาทิ ลักเซมเบิร์ก ไอร์แลนด์ และเบลเยี่ยม ซึ่งอาจใช้เวลาพิจาณาและดำเนินการเป็นปี อย่างไรก็ตาม ลิทัวเนียไม่สามารถพิจารณาใบคำขอจำนวนมากทั้งหมดได้ โดยจะทำการพิจารณาคัดเลือกออกใบอนุญาตให้กับบริษัทที่มีความเสี่ยงต่ำเป็นหลัก

    จากพัฒนาการของธุรกิจ fintech ในปัจจุบัน นาย Jurgilas ระบุว่า ธนาคารกลางลิทัวเนียพร้อมจะปรับเพิ่มความสามารถในการกำกับดูแลต่างๆ ให้สอดคล้องการเติบโตของภาคธุรกิจนี้ต่อไป แต่ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นว่าบริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนในลิทัวเนียเพิ่มขึ้นนั้นเป็นเพราะกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดน้อยกว่าประเทศอื่นๆ พร้อมทั้งระบุว่าสหภาพยุโรปมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลให้ทุกประเทศมีการบังคับใช้มาตรการควบคุมที่มีมาตรฐานและเหมาะสมอยู่แล้ว

    ลิทัวเนียถือเป็น fintech hub ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยได้รับความนิยมจากกลุ่มบริษัท fintech มากเป็นอันดับ 2 รองจากสหราชอาณาจักรหากเทียบกับกลุ่มประเทศยุโรปด้วยกัน ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือน ม.ค. 2019 ลิทัวเนียได้พิจารณาออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจ “electronic money institution licences” ไปแล้วกว่า 83 ใบ โดยบริษัทที่เพิ่งดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตดังกล่าวมายังลิทัวเนีย ได้แก่ Alphabet Inc (Google) และ Revolut (British digital-only bank)

    Source: BOTSS

    - Lithuania sees flood of fintech firms apply for licences ahead of Brexit:
    https://uk.reuters.com/article/uk-l...5Vn2rcADEQHX1eTJPLvjzp72NNJFw_w5LyXAb5AP8vC_M
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    0hDG0m13l8o7X7fnIIY-thQxW8oe6vB8NxJT3JBdNFqOxnYzATMlYBWoZIwWbqPCGHIZRbtQ&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.png

    (Feb 9) ส่งสัญญาณคุมเข้มสินเชื่อ : ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จัดทำ แบบสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อ (Senior Loan Officer Survey) ซึ่งเป็น การสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูง ที่ดูแลงานด้านสินเชื่อของสถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต และธุรกิจ สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-Banks) โดยสำรวจเป็นประจำทุกไตรมาส เพื่อสร้างความ เข้าใจในการวิเคราะห์สินเชื่อที่ครบถ้วนและ ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น คำถามในแบบสำรวจ ครอบคลุมทั้งด้านอุปทานของสินเชื่อ อุปสงค์ของสินเชื่อ และแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อในไตรมาสข้างหน้า

    สำหรับผลการสำรวจภาวะและแนวโน้ม สินเชื่อไตรมาส 4/2561

    สินเชื่อภาคธุรกิจ : ความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุก ขนาดธุรกิจ ขณะที่สถาบันการเงินกำหนดมาตรฐานการให้สินเชื่อโดยรวมเข้มงวดขึ้นตามการเพิ่มความเข้มงวดกับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่เป็นสำคัญ

    ความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจในไตรมาส 4 ปี 2561 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ตามความต้องการสินเชื่อของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพฯ เพื่อใช้ลงทุนสินทรัพย์ถาวรใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและใช้ผลิตสินค้าคงคลังสะสมเป็นสำคัญ

    นอกจากนี้ ธุรกิจส่วนหนึ่งหันมา ระดมทุนผ่านการขอสินเชื่อ เนื่องจากต้นทุนจากการออกหุ้นกู้ได้ทยอยปรับ เพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ขณะที่ธุรกิจ SMEs มีความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าเกษตรและสินค้าแปรรูปเกษตร อาทิ อ้อย มันสำปะหลัง โดยมีปัจจัยบวกเพิ่มเติมจากความ ชัดเจนของการเลือกตั้งที่ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่น

    สำหรับไตรมาสแรกปี 2562 สถาบันการเงินคาดว่าความต้องการสินเชื่อธุรกิจมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ตามความชัดเจนของโครงการลงทุนภาครัฐ ทั้งโครงการลงทุนใน EEC โครงการรถไฟทางคู่และโครงการรถไฟ เชื่อม 3 สนามบิน ขณะที่ในกลุ่มธุรกิจ SMEs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความ ต้องการสินเชื่อของภาคเกษตรเป็นสำคัญ

    ด้านมาตรฐานการให้สินเชื่อภาคธุรกิจในไตรมาส 4 ปี 2561 สถาบันการเงินระมัดระวังการให้สินเชื่อมากขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะสินเชื่อ ที่ให้แก่ธุรกิจขนาดใหญ่ โดยปัจจัยหลักมาจากภาวะของอุตสาหกรรมและภาวะเศรษฐกิจทั่วไป

    สำหรับไตรมาสแรกปี 2562 สถาบันการเงินคาดว่าจะเพิ่มความเข้มงวด โดยเฉพาะสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากเศรษฐกิจในปี 2562 มีแนวโน้ม ชะลอตัวและมีความกังวลต่อภาวะของบางอุตสาหกรรม อาทิ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา เหล็ก

    สินเชื่อภาคครัวเรือน : ความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนปรับเพิ่มขึ้น จากไตรมาสก่อนในทุกวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ขณะที่สถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ มากขึ้นเช่นกัน

    ความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือน ในไตรมาส 4 ปี 2561 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนในทุกวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะใน สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์จากภาวะตลาดรถยนต์ที่ได้รับแรงสนับสนุนเพิ่มเติมจากงาน Motor Expo ในช่วงปลายปี 2561 เป็นสำคัญ ขณะที่ปัจจัยหลักที่ส่งผล ให้ความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิต เพิ่มขึ้น ได้แก่ การขอสินเชื่อเพื่อใช้ บริโภคทั่วไปและกลยุทธ์การขยาย ตลาดสินเชื่อรายย่อยของธนาคาร บางแห่ง

    สำหรับไตรมาสแรกปี 2562 สถาบันการเงินคาดว่าความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนจะเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัย เนื่องจากคาดว่าจะมีการเร่งโอนกรรมสิทธิ์ก่อนการบังคับใช้มาตรการ LTV ในวันที่ 1 เม.ย. 2562 ขณะ ที่สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์คาดว่าจะลดลง ตามการคาดการณ์ว่าตลาดรถยนต์ มีแนวโน้มจะขยายตัวชะลอลงในปีนี้

    มาตรฐานการให้สินเชื่อภาคครัวเรือน ในไตรมาส 4 ปี 2561สถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ภาคครัวเรือน โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อ รถยนต์ จากสัญญาณคุณภาพสินเชื่อ มีแนวโน้มด้อยลง ภาวะเศรษฐกิจที่มี แนวโน้มชะลอลง และความเสี่ยงของ หลักทรัพย์ค้ำประกันที่สูงขึ้น เนื่องจากธุรกิจให้เช่ารถยนต์ได้รับผลกระทบจากจำนวน นักท่องเที่ยวจีนที่ลดลงและตลาดรถยนต์มือสองมีแนวโน้มชะลอลง

    สำหรับไตรมาสแรกปี 2562 สถาบันการเงินยังคงเพิ่มความเข้มงวดใน การปล่อยสินเชื่อในกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

    Source: Posttoday
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    ttp%3A%2F%2Fwww.standardmedia.co.ke%2Fimages%2Fsaturday%2Fthumb_fastfood_fan_trump_5c5e7175bbd5b.jpg
    (Feb 9) แพทย์ยืนยัน ‘ทรัมป์’ สุขภาพแข็งแรง ‘ดีมาก’ แม้ไม่ค่อยคุมอาหาร: ผลตรวจร่างกายฉบับเต็มที่เผยแพร่วานนี้ (8 ก.พ.) ยืนยันว่าประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ยังคงมีสุขภาพแข็งแรงดีมาก แม้จะไม่ค่อยได้คุมอาหารและออกกำลังกายตามที่แพทย์สั่งก็ตาม

    ฌอน คอนลีย์ แพทย์ประจำทำเนียบขาวและผู้เชี่ยวชาญอีก 11 คนได้ทำการตรวจร่างกาย ทรัมป์ เป็นเวลา 4 ชั่วโมงเพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลง หลังจากที่เคยแนะนำให้ประธานาธิบดีวัย 72 ปีออกกำลังกายและคุมอาหารมากขึ้นเมื่อปีที่แล้ว

    “ระหว่างที่เรากำลังสรุปรายงานและคำแนะนำ ผมมีความยินดีที่จะประกาศให้ทราบว่า ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกามีสุขภาพแข็งแรงดีมาก และผมหวังว่าท่านจะเป็นเช่นนี้ไปตลอดวาระดำรงตำแหน่ง รวมถึงภายหลังจากนั้น” คอนลีย์ ระบุโดยไม่ให้รายละเอียดเพิ่มเติม

    ทรัมป์ ได้เดินทางไปตรวจร่างกายเป็นครั้งที่ 2 ในฐานะประธานาธิบดีที่โรงพยาบาลทหารแห่งชาติวอเตอร์รีด (Walter Reed National Military Medical Center) ในเมืองเบเธสดา รัฐแมริแลนด์

    นพ.คอนลีย์ ยืนยันว่า คณะแพทย์ไม่ได้ให้ยาสงบ (sedation) หรือรมยาสลบ ทรัมป์ ซึ่งหมายความว่าไม่ได้มีการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy)

    เมื่อปีที่แล้ว แพทย์ได้ประกาศว่า ทรัมป์ มีสุขภาพอยู่ในขั้น “ดีเยี่ยม” แต่ขอให้ผู้นำสหรัฐฯ ลดน้ำหนักลงประมาณ 10-15 ปอนด์ (4.5-6.8 กิโลกรัม) โดยการคุมอาหารและออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ารูปร่างของ ทรัมป์ ในเวลานี้ก็ไม่ได้แตกต่างจากเดิมเท่าไหร่นัก

    ผู้ช่วยระบุว่า ทรัมป์ หันมารับประทานปลามากขึ้น แต่ยังคงสั่งให้พ่อครัวประจำทำเนียบขาวและโรงแรม ทรัมป์ อินเทอร์เนชันแนล ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ทำสเต็กแบบสุกกำลังดี (well done) เสิร์ฟพร้อมซอสมะเขือเทศกับเฟรนช์ฟรายให้ทานอยู่เป็นประจำ และเป็นที่ทราบกันดีว่า ทรัมป์ นั้นชอบรับประทานอาหารฟาสต์ฟูดมานานแล้ว

    ทรัมป์ ยอมรับว่าไม่ได้คุมอาหารอย่างจริงจังตามที่แพทย์สั่ง และไม่เคยมีใครเห็นเขาเข้าไปใช้บริการยิมในทำเนียบขาว

    ผลตรวจสุขภาพในปีที่แล้วระบุว่า ทรัมป์ มีน้ำหนักตัว 108 กิโลกรัม อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 68 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิต 122/74 และมีระดับโคเลสเตอรอลโดยรวม 223 (HDL 67/ LDL 143) ส่วนระบบความคิดและการรับรู้ก็อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    Source: ผู้จัดการออนไลน์
    https://mgronline.com/around/detail/9620000014005

    - Fast-food fan Donald Trump in 'very good health:
    https://www.standardmedia.co.ke/art...SOhJTKXu4r5_I8ENeI--d-Xs7HIJjoltPBOkyC4AqqEOA
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    &url=https%3A%2F%2Fassets.bwbx.io%2Fimages%2Fusers%2FiqjWHBFdfxIU%2Fi9gzhEeTfnUA%2Fv0%2F1200x800.jpg
    (Feb 9) เอเชียปรับลดดอกเบี้ยรับเฟดเปลี่ยนทิศทาง - นักวิเคราะห์คาดเฟดเปลี่ยนท่าที-เงินเฟ้อผ่อนแรง ช่วยหนุนแบงก์ชาติเอเชียทยอยลดดอกเบี้ยปีนี้

    บลูมเบิร์กรายงานว่า หลังจากธนาคารกลางอินเดียลดดอกเบี้ยเป็นรายแรกของเอเชียในปีนี้ ตามทิศทางของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยออกไป ทำให้คาดว่าจะมีธนาคารกลางรายอื่นๆ ในเอเชีย ทยอยเปลี่ยนทิศทางดอกเบี้ยตามมาในเร็วๆ นี้

    นายฌอน โรช หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์เอเชียและแปซิฟิกของบริษัท เอสแอนด์พี โกลบอล เรตติ้งส์ กล่าวว่า ฟิลิปปินส์มีโอกาสลดดอกเบี้ยเป็นรายต่อไป และอาจปรับลดถึง 2 ครั้งในปีนี้ หลังจากเพิ่งลดคาดการณ์เงินเฟ้อลง และอินโดนีเซียอาจลดดอกเบี้ยใน ปีนี้เช่นกัน หลังจากขึ้นไปหลายครั้งรวม 1.75% ในปีที่ผ่านมา

    นายโรช ยังระบุว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอีกรายที่อาจผ่อนนโยบายการเงินจากทิศทางตึงตัว เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงต่อเนื่อง 5 เดือนและอยู่ต่ำกว่ากรอบเงินเฟ้อที่ 1-4%

    Source: Posttoday

    - After India's Rate Cut, Watch the Philippines Next, S&P Says :
    https://www.bloomberg.com/news/arti...sptscD_R5ar5BrU2MINGzOdOTd7xX14uiu2IbNonrVuW4
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    safe_image.php?d=AQDrYDXz6iXNkaG9&w=540&h=282&url=https%3A%2F%2Fs3.reutersmedia.jpg
    (Feb 9) ผอ. IMF ชี้ประเทศส่งออกน้ำมันยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่จากภาวะราคาน้ำมันทรุดปี 2557 : นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยในการประชุมที่ดูไบในวันนี้ว่า บรรดาประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน ยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่จากผลกระทบของราคาน้ำมันที่ร่วงลงอย่างรุนแรงในปี 2557 และแนวโน้มราคาน้ำมันยังคงมีความไม่แน่นอนอย่างมาก แม้เศรษฐกิจจะมีการขยายตัวเล็กน้อยก็ตาม

    นางลาการ์ดระบุว่า "เนื่องจากรายได้ที่ลดลง ทำให้การขาดดุลทางการคลังลดลงอย่างเชื่องช้า แม้จะมีการปฏิรูปครั้งสำคัญทั้งด้านการใช้จ่ายและรายได้ รวมถึงการกำหนดภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิต"

    "ปัจจัยดังกล่าวทำให้หนี้สาธารณะพุ่งขึ้นอย่างมากจาก 13% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ในปี 2556 เป็น 33% ในปี 2561" นางลาการ์ดกล่าวเสริม

    ทั้งนี้ IMF ประกาศปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่เตือนว่า เศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายประการ

    IMF คาดว่า เศรษฐกิจโลกจะมีการขยายตัว 3.5% ในปีนี้ และ 3.6% ในปีหน้า โดยต่ำกว่าระดับ 3.7% สำหรับทั้ง 2 ปีที่มีการคาดการณ์ในเดือนต.ค.ปีที่แล้ว

    Source: อินโฟเควสท์ โดย กัลยาณี ชีวะพานิช

    - MF's Lagarde says oil exporters have not fully recovered from oil shock, cautions against 'white elephant projects' : https://www.reuters.com/article/us-...eSWhAdClv5YEyBG_8HsoURLxDBzWGO0_6QtKUu5SWcLwk
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    SJ8hub936q_jsHjoF1iWgCob0u1t5GxGIlnnisrCmEL5ZoZ6i1JYcvMROvQXZSXnjBlhkTfA&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.jpg

    (Feb 10) เปิดพิมพ์เขียวผังอีอีซี ตีกรอบเมืองใหม่1.5หมื่นไร่ - เปิดพิมพ์เขียวผังเมืองอีอีซี 8.3 ล้านไร่ กรมโยธาฯคลอด ส.ค.นี้ ปรับลดพื้นที่เกษตรกรรม 4 แสนไร่ เพิ่มพื้นที่ชุมชน อุตสาหกรรม รับเขตส่งเสริมพิเศษ เมืองใหม่ ศูนย์ธุรกิจ 15,500 ไร่ นำร่องฉะเชิงเทรา ระยอง บูม 2 ฝั่งสุขุมวิท แนวไฮสปีด รัศมี 2 กม. รอบสถานี เผยยื่นประมูลเมืองการบินอู่ตะเภา 3 แสนล้าน

    เอกชนขอเลื่อนยื่นซอง 30 เม.ย.นี้

    นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จัดทำร่างแผนผังการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคเสร็จแล้ว กำลังรับฟังความคิดเห็นใน 3 จังหวัด คือ ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา จะแล้วเสร็จเดือน มี.ค.-เม.ย. บังคับใช้ 9 ส.ค.นี้

    รวบที่ดิน 3 จังหวัด

    "ร่างผังเมืองอีอีซีจะรวบการใช้ประโยชน์ที่ดิน 3 จังหวัด เป็นพื้นที่เดียวกัน ซึ่งบอร์ดอีอีซีที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานโอเคแล้ว หากไม่มีการคัดค้าน จะเร่งประกาศใช้เดือน ส.ค."

    เมื่อผังเมืองอีอีซีบังคับใช้แล้ว จะยกเลิกผังเมืองรวม 3 จังหวัด ซึ่งผังที่ร่างขึ้นจะสอดรับนโยบาย เช่น เขตส่งเสริม อุตสาหกรรมเป้าหมาย 21 เขต พื้นที่ 86,755 ไร่ เขตส่งเสริมกิจการพิเศษ 4 แห่ง 18,484 ไร่ พื้นที่เมืองใหม่ พื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจอย่างน้อย 15,500 ไร่ โมเดลเมืองใหม่ 12,500 ไร่ ศูนย์การเงิน 500 ไร่ มหานครการบินตะวันออก 2,500 ไร่

    "คนในพื้นที่กังวลเรื่องขยะ น้ำ การจราจร เพราะประชากรในอีอีซีจะเพิ่มเป็น 6.29 ล้านคน มีนักท่องเที่ยว 51.3 ล้านคน"

    นายมณฑลกล่าวว่า ผังเมืองอีอีซีมีพื้นที่รวม 8.29 ล้านไร่ หรือ 13,266 ตร.กม. แยกเป็น จ.ฉะเชิงเทรา 5,331 ตร.กม. หรือ 3.34 ล้านไร่ ชลบุรี 4,363 ตร.กม. หรือ 2.726 ล้านไร่ และระยอง 3,552 ตร.กม. หรือ 2.22 ล้านไร่ ซึ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินจะมองเป็นภาพรวม 20 ปี ถึงปี 2580

    "การใช้ที่ดินจะเน้นพัฒนาไปด้าน ตะวันออก หรือขวามือของรถไฟความเร็วสูงเป็นหลัก ซึ่งพื้นที่ติดชายทะเลพัฒนาเต็มแล้ว" ประกอบด้วย
    1.พื้นที่พัฒนาเมือง พื้นที่ส่งเสริมพิเศษ สนับสนุนเมืองใหม่และเมืองเดิมที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ ขนานชายฝั่งทะเล ตลอดสองฝั่งถนนสุขุมวิท และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

    กำหนดที่ดิน 4 ประเภท 1.สีแดง ศูนย์กลางพาณิชยกรรม เป็นย่านธุรกิจ การค้า บริการ ได้แก่ พัทยา ชลบุรี ศรีราชา อู่ตะเภา ระยอง 2.สีส้ม ชุมชนเมือง เป็นพื้นที่อยู่อาศัยหลักและแหล่งงาน เป็นเมืองเดิม จะพัฒนาเมืองในอนาคต 3.สีเหลือง รองรับการพัฒนาเมือง และ 4.สีน้ำตาล เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษสำหรับกิจการพิเศษ 4 แห่ง คือ เขตอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) เช่น แหลมฉบัง เขตส่งเสริมนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) เขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) และเขตส่งเสริมรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (EECh) เช่น ฉะเชิงเทรา

    คุมที่เกษตรกรรม

    2.พื้นที่พัฒนาเกษตรกรรม เป็นพื้นที่สีเขียวและสีเหลืองอ่อน หรือที่ดินเกษตรกรรมและชนบท รักษาแหล่งผลิตอาหาร ผลไม้เมือง เช่น บางส่วนของฉะเชิงเทรา ต่อเนื่องมาด้านตะวันออกของชลบุรี และลงมาด้านชายฝั่งทะเลของระยอง

    3.พื้นที่อุตสาหกรรม สีม่วง ที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรม และบริเวณที่มีศักยภาพเหมาะสมกระจายตัวบริเวณชลบุรี และระยองตอนล่าง ได้แก่ อ.ศรีราชา บ้านบึง ปลวกแดง บ้านค่าย และ 4 พื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นพื้นที่สีเขียวลายจะสงวนไว้ มีพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แหล่งน้ำและชายฝั่งทะเล

    ลดเกษตร-เพิ่มอุตฯ-ชุมชน

    "ทั้ง 3 จังหวัดเพิ่มพื้นที่ชุมชนเมือง 438,268 ไร่ จาก 916,183 ไร่ เป็น 1,354,451 ไร่ พื้นที่อุตสาหกรรม 3.42% หรือ 122,931 ไร่ จาก 283,561 ไร่ เป็น 406,492ไร่ ปรับลดพื้นที่เกษตรกรรม 5% หรือ 408,479 ไร่ จาก 5,619,633 ไร่ เหลือ 5,211,154 ไร่ คงอนุรักษ์ไว้ 838,245 ไร่ ที่ปรับลดพื้นที่เกษตร เพราะพื้นที่มีผลผลิตไม่คุ้มค่า ในผังเมืองอีอีซีกำหนดให้เป็นพื้นที่เพื่อกิจกรรมอื่นแทน เช่น เพื่ออยู่อาศัย หรืออุตสาหกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ"

    อีกทั้งกำหนดให้พัฒนาเป็นเมืองโดยรอบศูนย์กลาง คือ สนามบินอู่ตะเภา รัศมี 10-60 กม. เป็นเมืองใหม่และศูนย์กลางการบิน เชื่อมท่าเรือจุกเสม็ด เป็นเกตเวย์อีอีซีกับตลาดโลก, เขต อุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นปิโตรเคมี ต้นน้ำ ป้อนวัตถุดิบในการผลิตต่อเนื่อง เขตส่งเสริมอุตสาหกรรม, พัทยาเมือง ท่องเที่ยวระดับโลก, เมืองศรีราชา เป็นพื้นที่ TOD เศรษฐกิจดิจิทัล, เมืองชลบุรี พื้นที่การค้า บริการ, เมือง ฉะเชิงเทรา เมืองใหม่ เป็นย่านที่อยู่อาศัยชั้นดีแหล่งอุตสาหกรรม, เมืองระยอง เมืองใหม่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ชั้นดีของแรงงาน และ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง เป็น EECi แหล่งผลิตนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลก

    "มีบางพื้นที่ยังมีข้อห้ามควบคุมไว้ เช่น รอบสนามบินอู่ตะเภา อาจสร้างตึกสูงมากไม่ได้ หรือพื้นที่ไกลเขตเมืองมาก คงไม่ส่งเสริมตึกสูง"

    นายมณฑลกล่าวว่า เมืองใหม่ทาง อีอีซีจะกำหนดพื้นที่หรือเป็นพื้นที่ที่เอกชนเสนอ โดยนำร่องที่ฉะเชิงเทรา ระยอง แนวคิดสมาร์ทซิตี้ ส่วนเมืองใหม่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงอยู่ในรัศมีไม่เกิน 2 กม. และพัฒนารอบสถานี หรือ TOD การพัฒนาโครงการถึงจะสำเร็จเหมือนต่างประเทศ

    เอกชนเลื่อนยื่นซองอู่ตะเภา

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 8 ก.พ. กองทัพเรือจัดชี้แจงครั้งที่ 2 การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบิน อู่ตะเภาและเมืองการบินตะวันออก พื้นที่ 6,500 ไร่ มูลค่า 290,000 ล้านบาท มีเอกชนเข้าร่วม 31 ราย จากซื้อซอง 42 ราย โดยตั้งคำถามหลากหลาย

    เช่น ขอให้เลื่อนยื่นซองประมูลออกไปจาก 28 ก.พ. เป็น 30 เม.ย. โดยที่ปรึกษา รับข้อเสนอไว้หารือกับคณะกรรมการคัดเลือกให้ความเห็นชอบต่อไป แต่เบื้องต้น ขอให้ยึดวันที่ 28 ก.พ.ไปก่อน ยังมีขอใช้ประสบการณ์ผู้รับจ้าง การให้รัฐอุดหนุนเพิ่มเติมนอกเหนือจากทีโออาร์ เช่น มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำขอความ ชัดเจนปรับบทบาทอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1-2 ซึ่งเอกชนกังวลว่า หากยังเปิดใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไปเรื่อย ๆ อาจจะกระทบกับอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ที่เอกชนจะต้องลงทุนเป็นเงินจำนวนมาก และยังสอบ ถามการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นหลังเซ็นสัญญา นอกจาก บมจ.ท่าอากาศยาน ไทย (ทอท.) แล้ว เอกชนนำรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ มาร่วมด้วยได้หรือไม่ ทางที่ปรึกษาระบุให้เฉพาะ ทอท.เท่านั้น

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการประชาพิจารณ์ ผังเมืองอีอีซีที่จังหวัดฉะเชิงเทราเมื่อ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา มีประชาชน ตัวแทนหน่วยงานท้องถิ่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้าเข้าร่วมรับฟัง โดยบางส่วน คัดค้านและยื่นขอแก้ไขร่างผังเมือง ที่ทางการจัดทำ เพราะได้รับความเดือดร้อน จากที่ผังเมืองอีอีซีห้ามขยายโรงงานในพื้นที่ดิน และเกรงได้รับผลกระทบจากปัญหาจราจร ขาดแคลนน้ำ ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

    Source: ประชาชาติธุรกิจ
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    safe_image.php?d=AQCAPEULKAfwAU1i&w=540&h=282&url=https%3A%2F%2Fs3.reutersmedia.jpg

    (Feb 10) Update: สหรัฐงัดข้อทางการทูตกับรัสเซีย-จีนเรื่องเวเนซุเอลา: สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 9 ก.พ. โดยอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวซึ่งเปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ ว่าสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ( ยูเอ็นเอสซี ) ทั้ง 15 ประเทศประชุมกันเป็นการภายใน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับสถานการณ์ในเวเนซุเอลา ซึ่งสหรัฐพยายามผลักดันให้ยูเอ็นเอสซีออกแถลงการณ์เรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งใหม่ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยต้องตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย และกระบวนการต้องเป็นไปอย่างชอบธรรมและโปร่งใส

    อย่างไรก็ตาม รัสเซียและจีนซึ่งเป็น 2 ใน 5 ของสมาชิกถาวรยูเอ็นเอสซี ยังคงวีโต้การออกแถลงการณ์ยอมรับ "ความชอบธรรม" ของนายฮวน กวยโด และสมัชชาแห่งชาติเวเนซุเอลา โดยรัฐบาลมอสโกนำสเนอร่างแถลงการณ์ฉบับใหม่เกี่ยวกับสถานการณ์ในเวเนซุเอลา ที่มีเนื้อหาในตอนหนึ่งระบุเกี่ยวกับ "ความวิตกกังวล" ต่อการแทรกแซงอำนาจทั้งฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติของเวเนซุเอลา และคัดค้านการใช้ "มาตรการทางทหาร" รุกล้ำอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของเวเนซุเอลา

    ด้านจีนยังคงเรียกร้องให้คู่กรณีหลักคือประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร และกวยโด เจรจากัน อนึ่ง จีนเป็นหนึ่งในประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ของเวเนซุเอลาในปัจจุบัน มอบเงินช่วยเหลือไปแล้ว 65,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 2.08 ล้านล้านบาท ) ตลอดช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา และรัฐบาลมาดูโรยังค้างชำระคืนอีก 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 640,000 ล้านบาท )

    ในเวลาเดียวกัน คาราวานความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากองค์การเพื่อพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐ ( ยูเอสเอด ) ยังคงจอดรออยู่ที่เมืองกูกูตา ทางตะวันออกเฉียงเหนือของโคลอมเบียเพื่อรอข้ามสะพานไปยังอีกฝั่งซึ่งจะเป็นดินแดนของเวเนซุเอลาแล้ว และเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งน่าจะเป็นวิธีการกดดันอีกทางหนึ่งของรัฐบาลวอชิงตัน

    Source: เดลินิวส์ออนไลน์ : https://www.dailynews.co.th/foreign/692547

    ********************************
    ฝ่ายค้านเวเนฯเล็งใช้รายได้น้ำมันในอเมริกา สร้างท่อน้ำเลี้ยงขับเคลื่อนโค่นล้ม'มาดูโร' - ฝ่ายค้านเวเนซุเอลาเล็งใช้รายได้จากการขายน้ำมันของประเทศ ในดินแดนอเมริกา มาขับเคลื่อนความพยายามในการโค่นล้มประธานาธิบดี นิโคลัส มาดูโร ขณะเดียวกันทำเนียบขาวก็เดินหน้ากดดันรัฐบาลกรุงคารากัส โดยแย้มอาจยกเลิกมาตรการแซงก์ชันสำหรับนายทหารอาวุโสของเวเนฯ ที่เปลี่ยนข้างมาสนับสนุนฝ่ายค้าน ด้านรัสเซียเผยถูกยุโรปและละติน อเมริกากีดกันไม่ให้เข้าร่วมประชุมแก้ไขวิกฤตการณ์เวเนซุเอลา

    คาร์ลอส ปาปาโรนี สมาชิกฝ่ายค้านในรัฐสภาเวเนซุเอลา เปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (6 ก.พ.) ว่า เงินทุนดังกล่าวจะมาจาก รายได้ของซิตโก ปิโตรเลียม ซึ่งเป็น บริษัทที่ตั้งอยู่ในสหรัฐฯ ในเครือของ รัฐวิสาหกิจน้ำมันพีดีวีเอสเอของเวเนซุเอลา ทั้งนี้ หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศตั้งแต่เดือน ที่แล้ว รับรองผู้นำฝ่ายค้าน ฮวน กวยโด ว่าเป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเฉพาะกาลของเวเนซุเอลา

    ซิตโกซึ่งเป็นโรงกลั่นน้ำมันใหญ่อันดับ 8 ของสหรัฐฯและถือเป็นสินทรัพย์ต่างประเทศที่สำคัญของเวเนซุเอลา กำลังเป็นเป้าหมายสำคัญในสถานการณ์ที่วอชิงตันรุกฆาตเพื่อชิงการควบคุมสินทรัพย์นี้จากประธานาธิบดีมาดูโร รวมทั้งประกาศแซงก์ชันอุตสาหกรรมน้ำมันของเวเนซุเอลาที่เป็นสมาชิกรายหนึ่งขององค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก)

    ปาปาโรนีแสดงความหวังว่า ในสัปดาห์หน้าตัวแทนของฝ่ายค้านเวเนซุเอลาในสหรัฐฯ จะประกาศรายละเอียดเรื่องนี้ได้

    ยอน กอยโคเชีย สมาชิกทีมการ เมืองของกวยโด เสริมว่า ประธานาธิบดีรักษาการผู้นี้ยังกำลังติดต่อกับพวก คู่ค้าระหว่างประเทศของพีดีวีเอสเอ และคู่ค้าเหล่านั้นยินดีดำเนินงานในเวเนซุเอลาต่อ

    เขายังบอกว่า ทีมงานของกวยโดกำลังวางแผนการจัดการฉุกเฉินเพื่อ จัดหาเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชน ภายหลังจากรัฐบาลมาดูโรพ้นจากอำนาจ

    นอกจากนั้นฝ่ายค้านยังพยายามขัดขวางไม่ให้รัฐบาลขายทองคำสำรองเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายชดเชยรายได้ที่ ขาดหายไปจากมาตรการแซงก์ชัน

    อย่างไรก็ดี ปาปาโรนีบอกว่า ปีที่แล้วรัฐบาลมาดูโรขายทองคำสำรองจำนวน 73 ตันให้ตุรกี และสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์โดยไม่ขออนุมัติจากสมัชชาแห่งชาติที่ควบคุมโดยฝ่ายค้าน

    เวเนซุเอลานั้นมีทองคำสำรอง 132 ตันเก็บรักษาอยู่ในห้องนิรภัย ของแบงก์ชาติ และที่ธนาคารกลาง อังกฤษ ทั้งนี้ จากข้อมูลจนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน

    ในอีกด้านหนึ่ง จอห์น โบลตัน ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว เผยว่า อเมริกาอาจพิจารณายกเลิกมาตรการแซงก์ชันนายทหารอาวุโสของเวเนซุเอลาที่ยอมรับรองกวยโด

    อย่างไรก็ดี นอกจากนายพล คนหนึ่งซึ่งไม่ใช่ฝ่ายคุมกำลัง ที่เผยแพร่คลิปรับรองกวยโดและเรียกร้องให้ ทหารคนอื่นๆ ทำแบบเดียวกันแล้ว ทหารระดับสูงส่วนใหญ่ของเวเนซุเอลายังคงภักดีต่อมาดูโร

    มาดูโรที่ยังคงสามารถควบคุมหน่วยงานรัฐทั้งหมด ประณามว่ากวยโด เป็นหุ่นเชิดของอเมริกาที่ต้องการโค่นล้มตน ทั้งนี้เขาเองยังคงได้รับการสนับสนุนจากจีนและรัสเซีย นอกจากนั้นเมื่อ วันพุธ อิตาลี และสโลวาเกียยังเป็น สองประเทศยุโรปล่าสุดที่ท้าทายแนวร่วมอเมริกาและสหภาพยุโรป (อียู) ด้วยการประกาศสนับสนุนมาดูโร

    วันพฤหัสบดี (7) เซียร์เก ริยาบคอฟ รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอาร์ไอเอ โนวอสติว่า มอสโกถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วมการประชุมนานาชาติเพื่อหารือสถานการณ์เวเนซุเอลาในกรุงมอนเตวิเดโอของ อุรุกวัย

    ทั้งนี้ ผู้แทนจาก 8 ชาติของอียู และ 5 ชาติของละตินอเมริกากำหนดหารือกันในวันพฤหัสบดี เพื่อสร้าง เงื่อนไขสำหรับกระบวนการทางการเมืองอย่างสันติสำหรับเวเนซุเอลา

    ริยาบคอฟยังเตือนว่า การแทรก แซงของประเทศภายนอกเพื่อมุ่งทำลาย โดยเฉพาะการแทรกแซงทางทหาร ต่อกิจการภายในของเวเนซุเอลา ถือ เป็นสถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิด ขึ้นได้

    Source: ผู้จัดการรายวัน 360 องศา

    - Venezuela opposition plans to get oil money from U.S. fund:
    https://www.reuters.com/article/us-...QlAVzH32qyMQCxdW7BC56BY359yUpYqtlND5_1lqQlOOE

    ความคืบหน้าล่าสุด

    - Exclusive: Venezuela shifts oil ventures' accounts to Russian bank - document, sources: https://www.reuters.com/article/us-...8b1ocBcb0mXFgtOkS3_h4dygCP_Hm3fjVDd0Cd0A96qAk
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    e69IB_JkUKOa3ApF1N2TebGxkUlsUhdfBQxyGrC3bnmgbdWg1eX7RExworahPrgc35afplaw&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.png
    (Feb 10) บทความ “มิติใหม่ของนโยบายการเงิน และการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน”: เดิมทีแนวการดำเนินนโยบายการเงินจะให้ความสำคัญเฉพาะการดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่ต่ำและไม่ผันผวนมากนัก หรือ มีเสถียรภาพด้านราคา แต่ภายหลังจากเหตุการณ์วิกฤตการเงินโลก ในปี ค.ศ. 2008 ซึ่งสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรง และต่อเนื่องเกือบ 10 ปี ทำให้ประเด็นด้านเสถียรภาพระบบการเงินเป็นที่พูดถึงกันมากขึ้น และเป็นที่เข้าใจกันว่าการดูแลเสถียรภาพราคาเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงที่ก่อตัวขึ้นในระบบการเงินอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างยั่งยืนได้
    PLloeD2pGFwGMuijmslGVqZ_J_QDgJV2-2393AQ0SUThNcG5ZkXoM4-SaZg_z170L5taj9SQ&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.png
    ดังนั้น จึงเลี่ยงไม่ได้ที่การดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไปจะต้องให้ความสำคัญกับประเด็นด้านเสถียรภาพระบบการเงินมากขึ้น ก่อนที่ความเสี่ยงเหล่านี้จะสั่งสมขึ้นมาและก่อให้เกิดวิกฤตการเงินในอนาคตได้
    15LhXnS_zgn5kl3GVbJ7GLydz-KA5YupVBj6HAnFGOlTGMbluzwpBVyhJj7tuBUnPCQdEiyQ&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.png
    บทความนี้ได้พัฒนาแบบจำลองเศรษฐกิจที่มีการเชื่อมโยงระหว่างแบบจำลองเดิมที่ใช้ในการพยากรณ์เศรษฐกิจและเงินเฟ้อในปัจจุบัน แบบจำลองที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงของระบบการเงิน และการวิเคราะห์เครื่องมือเชิงนโยบายต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของนโยบายการเงินต่อทั้งวัฎจักรเศรษฐกิจ และวัฎจักรการเงิน ซึ่งสามารถที่จะช่วยประเมินความเหมาะสมในการพิจารณาใช้นโยบายการเงินเพื่อการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน หรือที่เรียกกันว่า leaning against the wind (LAW) ได้
    jX5qjQ_DQ2P63bS0lq_V3gL8M2MN4rzShYdF9hrj3_c2AOlpl3MtTS_f6L3QXiYh1ExVLqEQ&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.png
    ทั้งนี้ บทความนี้ยังได้วิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการ macroprudential เช่น มาตรการควบคุมการปล่อยกู้สินเชื่อบ้าน Loan-to-Value (LTV) ด้วย
    m2fB8hqMiAJQpc2JVgAb2ASG69JNVS0m77rkKrcebIscH8lLrBFs_it9izRXnABUCTqL76-g&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.png
    ท่านสามารถอ่านบนความเพิ่มเติมได้ที่
    https://www.pier.or.th/?abridged=มิ...mkCJbJvCLjzgmYvXfquAgob4VOiSUnDHHeSivFi_dyURE

    โดย ดร. วราพงค์ วงศ์วัชรา คุณบวรวิชญ์ จินดารักษ์ ดร. นุวัต หนูขวัญ ดร. โสภณ ธัญญาเวชกิน และ คุณชุติภา คลังจตุรเวทย์

    Source: PIER FB
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    52Fpsh-ex-ftnikkei-3937bb4%252Fimages%252F3%252F1%252F9%252F8%252F19148913-1-eng-GB%252FRTS1AK9C.jpg
    (Feb 10) ผลาญงบประชานิยม ส่อลดเครดิต'ฟิลิปปินส์' : แม้ว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์จะได้ฉลองความสำเร็จจากการขาย พันธบัตรดอลลาร์ แต่ก็เกิดสัญญาณที่ทำให้หวนนึกถึงอดีตอันเลวร้ายสมัยที่รัฐบาลใช้งบประมาณฟุ่มเฟือยจนทำลายความเชื่อถือของประเทศ

    รัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต มีแนวโน้มที่จะขาดดุลงบประมาณทะลุเพดาน 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปีที่แล้ว และอาจจะขาดดุลเกินเพดานอีกตั้งแต่ปีหน้าไปจนดูเตอร์เตหมดวาระในปี 2565 เนื่องจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโครงการโครงสร้างพื้นฐานและสังคมของประเทศสูงขึ้น ขณะที่รายได้จากภาษีต่ำกว่าเป้า

    เมื่อต้นเดือนม.ค. ฟิลิปปินส์เป็นตลาดเกิดใหม่แห่งแรกที่ออกพันธบัตรรัฐบาลในปี 2562 ด้วยการขายพันธบัตรดอลลาร์อายุ 10 ปีจำนวน 1,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ย 3.75% สูงกว่าดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 1.10% และต่ำกว่าตัวเลขแนะนำเบื้องต้นซึ่งสูงกว่าดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐ 1.30%

    คาร์ลอส โดมิงเกซ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การขายพันธบัตรแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลได้รับความศรัทธาเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความสามารถในการรักษาวินัยการคลัง ในขณะที่มีการใช้จ่ายก้อนโตด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ ทันสมัย การพัฒนาทุนมนุษย์ และการคุ้มครอง ทางสังคมสำหรับคนยากจน

    อย่างไรก็ดี ความมั่นใจของโดมิงเกซ อาจอยู่ได้ไม่นาน แม้งบดุลของรัฐบาลยังคงแข็งแกร่งในภาพรวม ด้วยรายได้สูงขึ้นและหนี้สินที่น้อยลง แต่เงินคงคลังซึ่งได้มาอย่างยากลำบากและทำให้ฟิลิปปินส์มีความน่าเชื่อด้านการลงทุน กำลังตกอยู่ในความเสี่ยง

    ทีมเศรษฐกิจของดูเตอร์เตเข้ามาบริหาร ประเทศเมื่อเดือนมิ.ย. 2559 พร้อมประกาศว่า จะดำเนินการแผนใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ แต่จะยังคงรักษาวินัยทางการคลังเหมือนกับรัฐบาลชุดก่อนของอดีตประธานาธิบดี เบนิโญ อาคิโน ที่ 3 ด้วยการปรับขึ้นภาษีใหม่ ระหว่างปี 2556 บรรดาสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลกอย่าง "ฟิทช์" "มูดี้ส์" และ "สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส" (เอสแอนด์พี) ต่างยกให้ฟิลิปปินส์มีความน่าเชื่อถือด้านการลงทุน ซึ่งถือเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ของประเทศ และทีมเศรษฐกิจของดูเตอร์เตยังคงเดินหน้ารักษาวินัยทางการคลังเหมือนกับสมัยรัฐบาลอาคิโน

    สถาบันเหล่านี้ชื่นชมข้อความของรัฐบาลดูเตอร์เตที่ว่า ถึงแม้โครงสร้างพื้นฐาน ของฟิลิปปินส์อยู่ในสภาพเลวร้ายอย่างหนัก แต่รัฐบาลจะทำให้แน่ใจว่าสามารถเก็บรายได้มากพอที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐาน

    รัฐบาลคาดว่า รายจ่ายการลงทุนของรัฐแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 6.2% ของจีดีพีในปีที่แล้ว เทียบกับเฉลี่ย 3% ในสมัยรัฐบาลอาคิโน และตำแหน่งงานในภาค การก่อสร้างเพิ่มขึ้นจาก 7% ของผู้มีงานทำในปี 2558 มาอยู่ที่ 9.4% ในปีที่แล้ว

    อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ดูเหมือนว่าวินัยทางการคลังของรัฐบาลดูเตอร์เตกำลัง หย่อนยานลง แม้จะยังไม่ประกาศตัวเลขของทั้งปีที่แล้ว แต่มีแนวโน้มว่ารัฐบาล จะขาดดุลงบประมาณเกิน 3% ของจีดีพีในปี 2561 เป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี

    ในปีนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ขยายเพดานดังกล่าวเป็น 3.2% ของจีดีพี ซึ่งน่าจะเหมาะสม กับการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี ดูเตอร์เตกลับไม่เพียงเพิ่มค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับถนนหนทางและสะพานเท่านั้น แต่ยังอัดฉีดเงินทุนเพิ่มในโครงการประชานิยมที่พุ่งเป้ากระตุ้นคะแนนนิยมของตัวเองด้วย

    นับตั้งแต่ปี 2560 ดูเตอร์เตออกนโยบายเรียนฟรีในมหาวิทยาลัยรัฐ อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ฟรี และบริการชลประทานฟรีสำหรับเกษตรกร นอกจากนั้นยังสั่งขึ้นเงินเดือนทหารและตำรวจอีก 2 เท่า เพื่อเพิ่มคะแนนสนับสนุนสงครามยาเสพติด ของเขา ค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดของโครงการเหล่านี้จะแตะ 1.25 แสนล้านเปโซในปีนี้ เพิ่มขึ้น 16% จากปี 2561 และมากกว่า ค่าใช้จ่ายในปี 2560 ถึงกว่า 3 เท่า

    ปัญหาของรัฐบาลนี้คือการคาดการณ์ตัวเลขขาดดุลงบประมาณไปจนถึงปี 2564 ประเมินจากเป้าหมายการเติบโตที่ทะเยอทะยานเกินไป หากเศรษฐกิจเติบโตตามเป้าของรัฐบาล ซึ่งอยู่ที่ 7% แสดงว่าการใช้จ่ายด้านโครงการทางสังคมอยู่ที่ 0.7% ของจีดีพี เพิ่มขึ้น เล็กน้อยจาก 0.6% ในปีที่แล้ว แต่เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ไม่เคยเติบโตถึง 7% ตั้งแต่ ปี 2556 และมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่า 7% อีกในปีนี้

    รัฐบาลฟิลิปปินส์ไม่อาจพึ่งพาการเก็บภาษี เพิ่มขึ้นไปชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สูงขึ้นได้ กฎหมายภาษีเมื่อปีที่แล้วถือเป็นผลงาน การประนีประนอมทางการเมืองที่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สร้างรายได้ให้กับรัฐบาลตามที่คาดหวังไว้

    เนื่องด้วยรายได้รัฐที่น้อยกว่าการ คาดการณ์ รัฐบาลดูเตอร์เตจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากกู้เงินเพิ่มอีก 7.222 แสนล้านเปโซ ซึ่งคาดว่าจำเป็นต่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานระหว่างปี 2562-2565

    ฟิลิปปินส์จะจัดการเลือกตั้งกลางเทอมในเดือนพ.ค.นี้ และการห้ามงานดำเนินงาน โยธาสาธารณะใหม่เป็นเวลา 45 วันก่อนถึงวันเลือกตั้งจะทำให้การใช้จ่ายและเป้าขาดดุลงบประมาณอยู่ในการควบคุมในปีนี้ แต่รายจ่ายที่สูงขึ้นจากโครงการประชานิยมต่าง ๆ หมายความว่า การขาดดุลงบประมาณมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงวาระดำรงตำแหน่งที่เหลือของดูเตอร์เตและจะทะลุเพดาน 3% ของจีดีพีอีกครั้ง

    บริษัทวิจัย เอฟที คอนฟิเดนเชียล รีเสิร์ช ระบุว่า จากแนวโน้มในปัจจุบัน คาดว่าโครงการประชานิยมเหล่านี้ของฟิลิปปินส์จะมีค่าใช้จ่าย 1.515 แสนล้านเปโซภายในปี 2564 หรือเกือบ 4 เท่าของรายจ่ายในปี 2560 โดยจะ ได้แรงหนุนจากการขึ้นเงินเดือนเจ้าหน้าที่รัฐรอบใหม่ในปีหน้า เช่นเดียวกับการลงทะเบียนเข้าศึกษามหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น

    Source: กรุงเทพธุรกิจ

    เพิ่มเติม
    - Philippines risks return to bad old days of spending sprees
    :
    https://asia.nikkei.com/Editor-s-Pi...ph1Z3LFQpWZd2i0zxeaWSV9Q2xd2sgHzVzf8Awa5nSDoY
     

แชร์หน้านี้

Loading...